ความสำคัญของอินทรียวัตถุ (Organic matter)


เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักปุ๋ยอินทรีย์ แต่ไม่เข้าใจคำว่า อินทรียวัตถุ และส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ มุ่งเน้นใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว มีเงินมาก มีทุนมาก ก็ใช่ว่าจะปลูกพืชได้ผลดีนะคะ
อินทรียวัตถุ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของเศษซากพืช ซากสัตว์ ต่างๆ หรือมูลของสัตว์และคน ยกตัวอย่างเศษใบไม้และตะกอนทีทับถมกันนานๆเข้าเมื่อถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ นั่นแหละเรียกว่าอินทรียวัตถุ และเมื่ออินทรียวัตถุย่อยสลายๆไปเรือยๆ ก็จะกลายเป็นฮิวมัส สังเกตุดินที่มีฮิวมัสสูงๆ จะเป็นดินป่าพุเต็งและมีสีดำ ดินจากคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ควรจะมีค่าอินทรีย์วัตถุในดินไม่น้อยกว่า 1.5% ขึ้นไป ค่ะ

ดินที่มีสภาพเป็นดินทราย และ ร่วนทราย มักจะมีอินทรียวัตถุต่ำ เม็ดดินจะไม่เกาะกัน ทำให้เก็บปุ๋ยไม่ค่อยได้ และไม่เก็บน้ำด้วย ส่วนในดินเหนียวที่ขาดอินทรียวัตถุ ก็จะทำให้ดินทึบเกาะกันแน่น ไม่มีอ๊อกจิเจนในดิน ทำให้รากของพืชที่เราปลูกหากินอาหารไม่ได้

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีสภาพดินเป็นดินร่วนทรายหรือดินเหนียว ก็ขาดอินทรียวัตถุไม่ได้นะคะ สังเกตุพื้นที่มีการขุดลอกหน้าดินไปทิ้งหรือขุดหน้าดินออก หรือดินที่เอามาจากที่อื่น มาถมใหม่ เวลาปลูกต้นไม้ หรือปลูกพืช มักจะไม่งาม ต้นเหลืองโทรม แม้จะใส่ปุ๋ยเคมีเร่งต้นอย่างไร ก็ไม่งาม แถมเกิดโรคระบาดได้ง่าย นั่นเป็นเพราะดินขาดอินทรียวัตถุจากหน้าดินที่ทับถมกันเป็นเวลานานแล้วโดยลอกออก หากจะปลูกต้นไม้ในดินใหม่ๆ แบบนี้ต้องใส่อินทรียวัตถุและไถตีดินไปคลุกเค้ากันไปพร้อมๆ กันนานหลายปี กว่าดินบริเวณนั้นจะกลับมามีสภาพดีนะคะ

อินทรียวัตถุ 

หากใส่ในดินทรายจะช่วยให้ดินจับตัวกันเป็นก้อน อุ้มน้ำได้ดีขึ้น และดินมีความชุ่มชื้น เก็บปุ๋ยได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ธาตุรอง ไม่ถูกชะล้างจากหน้าดินได้ง่ายด้วย (เกี่ยวข้องกับแคตไอออน ประจุลบและ บวก ไว้อธิบายอีกที หากสนใจนะคะ)

หากใส่ในดินเหนียว จะทำให้โครงสร้างสภาพดินมีความโปร่งมากขึ้น ทำให้มีอ๊อกซิเจนหมุนเวียนในดินมากขึ้น ปลูกพืชได้ผลมากขึ้น

นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารหลัก NPK และกัมมะถัน ด้วย

ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง จะช่วยให้เวลาเราใส่ปุ๋ยเคมีมากๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องทุกปี ดินไม่เปลี่ยนสภาพเป็นกรดหรือเป็นด่าง นะคะ ดังนั้นไร่ไหนที่ใช้ปุ๋ยเคมีหนัก ๆ นั้นต้องใส่อินทรียวัตถุลงไปในดินทุกๆปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเน้ออออ.

ทีนี้ อินทรียวัตถุ สำคัญขนาดนี้ จะหาจากไหนได้บ้าง คำตอบคือ หาได้จาก

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 

- ปุ๋ยหมัก เช่นหมักฟางข้าว เศษอาหาร ให้เน่าเปือย แล้วนำมาหว่านในดิน)
- ปุ๋ยคอก คือ พวกขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ หรือที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์
- ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง ต้นโสน ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น
- ปุ๋ยชีวภาพ เช่น พวกแหนแดง นะคะ

สรุปคือ ดินทีขาดอินทรียวัตถุ ต่อให้ใส่ธาตุอาหารหลัก NPK หรือ ธาตุรองมากมายแค่ไหน ถ้าขาดอินทรียวัตถุในดิน พืชก็ไม่เจริญเติบโตได้ดีนะคะ ไม่เชือลองปลูกต้นไม้ในดินที่ขุดมาจากก้นบ่อโดยไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น ใส่แต่ปุ๋ยเคมีดูนะคะ ว่าจะตายหรือรอด..^^

เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร


สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา