เกษตรเคมี เลวร้ายจริงหรือ? มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อใครกันแน่


แค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ของต่างประเทศที่กำหนดมาให้เราทำและปฎิบัติ ก็เป็นเพียงวิธีการหาเงินจากเราทางหนึ่งเท่านั้น

ไหนจะต้องจ่ายค่าตรวจแปลงที่แสนแพง แม้จะผ่านได้ใบรับรองไปแล้วยังต้องจ่ายค่ารายปีอีกหลายหมื่นบาท

จะดีกว่าใหม..แทนที่จะมุ่งสร้างใบรับรอง..แต่ให้สร้างที่จิตสำนึกแทน..ใส่สารเคมีมากๆ คนกินก็ตาย..คนฉีดก็แย่...

ปุ๋ยเคมีกับสารเคมีต้องแยกออกจากกัน..ปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารหลัก NPK ไม่อันตรายเพียงแต่ต้องใส่ให้ถูกวิธีและต้องควบคู่กับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยอินทรีย์ ไปด้วยอย่าใส่เพียงแค่ปุ๋ยเคมีซ้ำๆ กันทุกปี จะทำให้ดินขาดธาตุอาหารรองตัวอื่นๆที่สำคัญ

ส่วนสารเคมีที่กล่าวถึงว่าอันตรายคือ..พวกยาเคมี...ยาฆ่าหญ้า...หรือยาฆ่าแมลงต่างๆ..แต่ถ้าหากโครงสร้างของดินมีความสมดุลก็จะไม่เกิดโรคที่จำเป็นต้องใช้ยาเคมี

ส่วนยาฆ่าหญ้า..ถ้ารู้จักวิธีกำจัดหญ้าตั้งแต่การเตรียมดินก่อนปลูกพืช..ก็ไม่เจอปัญหาหนักค่ะ
แทนที่จะไปเสียเงินให้กับค่าตรวจมาตรฐานของต่างชาติ..ร่วมกันสร้างจิตสำนึกให้รักตัวเอง..เรากิน...ลูกค้ากิน..ปลอดภัย..เราก็กิน..ลูกค้าก็กิน..

Win..Win..
แบบนี้เงินทองไม่ต้องเสียให้ใครค่ะ...

วิดิโอนี้ทำไว้ตั้งแต่ปี 2012 แล้วของช่อง FKxTV อัดไปแค่ภาคแรกนะคะ ภาค 2 ยังไม่ได้อัดต่อ...

บทความโดย ปริม ฟาร์มเกษตร

สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum


Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา