ไม่ตรวจดิน แต่ซื้อปุ๋ยมาใส่เยอะๆ เปรียบเสมือนซื้อดินมาถมลงดิน

ความสำคัญของการตรวจดิน


เคยเป็นใหม..เวลาปลูกพืชแล้วเห็นของคนอื่นงามมาก ได้ผลผลิตดีมากๆ ก็ถามสูตรหรือวิธีการทำกันไป..เค้าทำงาม..แต่ทำไมเวลาเราปลูก..มันกลับไม่งาม..กลับไปใหม่..ทำผิดวิธีหรือเปล่า..ใช้ปุ๋ยสูตรไหนดี..มีเทคนิคดีๆอีกใหม..มียาวิเศษยี่ห้ออะไร..บลา...บลา...

บางทีมันอาจแค่เส้นผมบังภูเขา...แค่เรืองของดิน..แต่มันไม่ใช่.."แค่" มันเป็นเรืองใหญ่..ที่เกษตรกรมักจะมองข้าม...

มุ่งหาปุ๋ยดีสารเพ..มุ่งหาพืชพันธุ์ดีสารพัด..แต่สุดท้าย..ลืมนึกถึงโครงสร้างของดินที่เป็นพืนฐานของทุกสิ่ง..ทุกอย่าง...

สำหรับปริมแล้ว..การทำเกษตรให้ได้ผล..เรืองใหญ่ที่สุดคือเรืองดินค่ะ ..หากเรารู้โครงสร้างของดิน..รู้ว่าในดินมีธาตุอาหารอะไรบ้าง..อะไรมีเพียงพอแล้ว...อะไรมีน้อยและยังขาดอยู่...เป็นคำตอบของการปลูกพืชได้ผลคุ้มกับต้นทุนอย่างแท้จริงค่ะ

มองด้วยตา..ไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้..แต่เกษตรกรบางท่าน..ก็อาศัยความชำนาญจากการสังเกตุต้นพืช..ลักษณะของใบพืชหรือลักษณะที่มองเห็นได้จากภายนอกของดิน..ก็สามารถตอบโจทย์นี้..แต่จะมีสักกี่ท่าน..ที่จะเข้าใจลักษณะของดินและพืชได้อย่างถ่องแท้แบบนี้..ต้องอาศัยประสบการณ์และการคลุกคลีกับพืชนานแค่ไหน..จึงจะทำได้แบบนั้น..

โดยปรกติในดินสิ่งที่มีความสำคัญกับพืชและกระทบการพืชมากสุด สำหรับปริมแล้ว แบ่งได้ดังนี้

1. กลุ่มจำเป็นและกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชมากคือ

- อินทรียวัตถุในดิน หรือ OM (ได้พูดถึงความสำคัญไปแล้ว ในบทความก่อนๆ)

- ธาตุอาหารหลัก NPK ซึ่งพืชกินในปริมาณมากแต่ละปี ธาตุอาหารเหล่านี้ก็จะน้อยลง ยิ่งปลูกพืชนานเข้า ธาตุหลักเหล่านี้ก็ลดลง แต่บางพื้นที่ลดลงในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน ตามแต่โครงสร้างของดินและพืชที่ปลูกค่ะ

- ค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่าง ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับการธาตุรองอีก 2 ตัวคือ แคลเซียมกับแมกนีเซียม

2. กลุ่มที่ตอบโจทย์เวลาปลูกพืชแล้วเจอปัญหาพืชไม่งาม หรือมักเกิดโรคระบาดกับพืชที่ปลูก ควรตรวจ

- ค่า CEC ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารในดิน

- แคลเซี่ยม

- แมกนีเซียม

สองธาตุนี้ มักจะสังเกตุอาการขาดได้จาก ขอบใบพืชที่มักเหลือง ยอดหงิก และการเกิดโรครากับระบบรากของพืชค่ะ

- โซเดียม ดินที่ใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างต่อเนื่อง ควรตรวจธาตุนี้เลยค่ะ เพราะอาจมีดินเป็นพิษสำหรับพืชที่เราปลูกได้

- กัมมะถัน ธาตุนี้หากใครใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 มักจะไม่ขาด เพราะปุ๋ยสูตรนี้ ทีธาตุกัมมะถันเป็นองค์ประกอบด้วยค่ะ

3. กลุ่มธาตุรองที่พืชนำไปใช้น้อย แต่ก็มีความจำเป็น หากขาดธาตุเหล่านี้ พืชมักจะบ่งบอกโรค หรือ ดินมีปัญหาค่ะ
- โบรอน
-โมลิบดินัม
- แมงกานิส
- อะลูมิเนียม
- ทองแดง
- เหล็ก
- สังกะสี
- ความเค็มของดิน หรือ EC
- ความต้องการปูน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเป็นกรด-ด่างของดิน

ทุกวันนี้การตรวจดินง่ายๆ ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชนหลายรายให้บริการตรวจดินอยู่นะคะ ง่ายๆ ทำรายการตรวจผ่านระบบออนไลน์ เก็บตัวอย่างดินส่งทางไปรษณีย์ และรอรับผลตรวจทางอีเมล
ประหยัดเงินค่าปุ๋ย ค่าดูแลรักษาโรคพืช และเพิ่มผลผลิตให้กับพืชที่ปลูกได้ แนะนำให้ตรวจดินก่อนปลูกพืชค่ะ

เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร
P.S. ตรวจดินผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ได้ที่ iLab.Asia นะคะ ได้รับผลการตรวจภายใน 7 วันทำการทางอีเมลค่ะ

สนับสนุนโดย
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา