หว้า : ลูกหว้า

หว้า : ลูกหว้า


พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเพชรบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini  (L.) Skeels

วงศ์  MYRTACEAE

ชื่อสามัญ Jambolan Plum , Java Plum

ชื่ออื่น ห้าขี้แพะ (เชียงราย)

ไม้ต้น สูง 10-25 เมตร

ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 5-9 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ปลายแหลม   โคนมน

ดอก  สีขาวออกเป็นช่อตามง่ามใบ

ผล  รูป รี กว้างประมาณ 0.8 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร

นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน จากอินเดียถึงมาเลเซีย ชอบดินชื้นที่อุดมสมบูรณ์ ขึ้นตามป่าดิบ และป่าผลัด ใบทั่วไป

ออกดอก ธันวาคม - มกราคม ผลแก่ พฤษภาคมขยายพันธุ์ โดยเมล็ด

วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด นำเมล็ดแช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ

ข้อสังเกตและผลการทดลอง  
1. เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 15 วัน
2. ระยะเวลา 3 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30 ซม. สามารถย้ายปลูกได้

ประโยชน์ เปลือกต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม ผล ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกรับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม เมล็ด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษ จากเมล็ดแสลงใจ

ลูกหว้ามีประโยชน์อย่างไร?


ลูกหว้า นำมากินสดๆ ทำไวน์ ทำน้ำส้ม น่าจะทำแยมได้ด้วย(แบบแบลคเบอรี่)

“หว้า” ชาวฮินดูเรียกว่า “จามาน” หรือ “จามูน”
“หว้า” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า จัมโบลาน (Jambolan) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีสส์จิอัม คูมินิ (Syzygium cumini (L.) Skeels) จัดอยู่ในวงศ์ ไมร์ทาซีอี้ (Myrtaceae) “หว้า” เป็นพันธุ์ไม้พวก ชมพู่ คือสกุล (Genus Syzygium) ในวงศ์ (Family Myrtaceae) มีมากทั้งในอินเดีย พม่า ไทย และมาเลเซีย ตลอดจนฟิลิปปินส์ โดยมากหว้ามีลูกเล็กสีม่วงดำ แต่ในบางแห่ง
เช่น ในฟิลิปปินส์มีลูกโตเท่าไข่นกพิราบ หว้ามีกิ่งก้านมาก แข็งแรง ปลายกิ่งห้อยย้อยลง ใบดกหนา ทำให้เกิดเป็นพุ่มทรงรูปไข่ แน่นทึบ ใบอ่อนจะแตกสีแดงเรื่อ ๆ แม่ค้าที่ขายลูกหว้าเขาจะพรมน้ำเกลือเล็กน้อย เพื่อเพิ่มรสชาดให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น ผล หว้ามีขนาดยาว 1 – 2.5 ซม. และโตประมาณ 1 ซม. น้ำจากผลหว้าก็เป็น 1 ใน 8 น้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตแก่พระภิกษุ เมล็ดลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย และใช้ถอนพิษ ในพม่านั้น ต้นหว้าถือเป็นไม้มงคลในเรื่องความสำเร็จและชัยชนะ ด้วยชื่อว่าชมพูทวีป หรือดินแดนแห่งไม้หว้านั้น เป็นแผ่นดินอันเป็นแดนกำเนิดของพระพุทธศาสนาและพระบรมศาสดานั่นเอง

“หว้า” มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ในผลหว้าจะประกอบด้วย น้ำตาล วิตามินซี มีแคลเซียม(สูง) และเหล็ก ส่วนในเมล็ดหว้าจะมีสารอัลคาลอยด์ น้ำมันหอมระเหย ฟอสฟอรัส และแคลเซียม

สรรพคุณของหว้าและวิธีใช้

เปลือกและใบหว้า ใช้ทำยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย ลิ้นและคอมีเม็ด
ใบและเมล็ดหว้า ใช้แก้บิด มูกเลือด ท้องเสีย นำใบและเมล็ดหว้ามาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ในการชะล้างแผลเน่าเปื่อย หรือนำใบและเมล็ดหว้ามาตำแล้วใช้ทาแก้โรคผิวหนัง
เมล็ดหว้า เมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มหรือบด แล้วนำมารับประทาน มีสรรพคุณใช้แก้เบาหวาน แก้บิด แก้ท้องร่วงได้

“ผลหว้าสุก” จะลักษณะสีม่วงดำ และมีรสเปรี้ยวฝาดอมหวาน จึงสามารถนำมาใช้ในการทำไวน์ได้ดี ส่วนยอดอ่อนของหว้า สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด

สำหรับในประเทศไทย ต้นหว้าเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดเพชรบุรี

ข้อมูลจาก
- samunpri.com/?p=5000
- dnp.go.th

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา