โดรนหว่านปุ๋ย เครื่องแรกของไทย โดยนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านน­า

โดรนหว่านปุ๋ย



นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านน­า สร้าง "โดรน" โปรยปุ๋ยในนาข้าว สำเร็จเป็นแห่งแรกของไทย ช่วยประหยัดเวลาให้กับเกษตรกร และป้องกันไม่ให้ถูกสารเคมี.

ถึงแม้จะเป็น Drone ตัวแรก ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก แต่นับเป็นต้นแบบ และก้าวที่สำคัญในวงการเกษตรไทย และที่สำคัญ น้องนักศึกษา ที่มองเห็นช่องว่าง และให้ความสนใจ และรับรู้ว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาวงการเกษตรไทยเราได้ โครงงานของน้องๆ นับว่ามีประโยชน์มากๆ สำหรับอนาคตเกษตร

ในครั้งนี้อาจะแบกรับน้ำหนักปุ๋ยได้ไม่กี่กิโลกรัม ต่อไปอาจจะรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น และหากเป็นการใช้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ด้วยน้ำหนักบรรทุกที่เท่ากัน ก็จะครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าปุ๋ยเม็ด ต่อการบินขึ้นลง 1 รอบ


การพัฒนาโดรนให้มีระบบการทำงานที่สะดวกและอัตโนมัติมากขึ้น ทำได้ไม่ยาก และความสามารถทั่วไปของ Drone ไม่ได้มีข้อจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ในส่วนราคา Drone ก็ถูงลงเรื่อยๆ ในขณะที่ความสามารถก็เพิ่มขึ้น

การพัฒนา Software ให้โดรนทำงานได้อัตโนมัติมากกว่านี้ น้องๆก็คงทำได้ในอนาคต หากมีเวลาในการพัฒนามากกว่านี้ หรือน้องต้องการพัฒนาต่อเนื่อง หลังจากที่เรียนจบไปแล้ว

เช่น การกำหนดพื้นที่ ให้โดนบินทำงานอัตโนมัติ หลังจากเสร็จงานแล้วกลับมาจอด หรือกลับมาชาร์จไฟฟ้าเอง เมื่อแบตเตอรี่เหลือน้อย

เมื่อบินทำงานอัตโนมัติแล้ว ก็เพิ่มความสามารถในการบรรจุปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยเม็ดลงไปในโดรนอัตโนมัติ และบินขึ้นทำงานต่อ ในพื้นที่ที่กำหนดจนเสร็จ Drone ที่บรรทุกน้ำหนักได้น้อย จะแทบจะทำงานหว่านปุ๋ย หรือฉีดพ่นปุ๋ยได้สมบูรณ์แบบแล้ว ซึ่งการทำงานลักษณะนี้ เราเปลี่ยนแปลงแค่การ Coding โปรแกรม และ Embed ลงบน Drone

ระบบการบรรจุปุ๋ยอัตโนมัติ ก็อาจทำได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างเช่นเคยเห็นการกดน้ำอัดลมลงแก้ว ที่ KFC รึเปล่าครับ มันมีการจับเวลาอยู่แล้ว ว่าจะให้น้ำไหลลงมากี่วินาที ลักษณะคล้ายกันนี้ ก็เอามาประยุคใช้ได้ เช่น ตอนที่ โดรน บินลงเข้าจอดฐานบรรจุปุ๋ย ก็ฐานมีอุปกรณ์เติมปุ๋ยน้ำ ที่ประยุคจาก เครื่องเติมน้ำอัดลมลงแก้วนี้ และหากไม่ชอบการจับเวลา เพราะมองว่าไม่แม่นยำ เราก็อาจเลือกทำเซ็นเซอร์ ตรวจจับว่า ปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยเม็ดเต็มหรือยัง ได้สองแบบ คือ เซนเซอร์น้ำหนัก และเซนเซอร์ขอบบรรจุ

หากบริษัทใด ต้องการพัฒนาต่อยอด น่าจะพัฒนาได้ไม่ยาก และทำราคาให้เหลือประมาณลำละไม่เกิน 40,000 บาท เชื่อว่าเกษตรกรซื้อใช้กันเยอะแน่นอนครับ  ราคา สี่หมื่นบาท เท่ากับ ปุ๋ยแค่ 60 กระสอบเท่านั้น เกษตรกรที่มีที่ดิน 20 ไร่ ใช้ปุ๋ยปีละ 60 กระสอบ คือไร่ละ 3 กระสอบ สำหรับคนที่มีที่ 100 ไร่ ยิ่งเป็นเรื่องเล็กเลย

อยากให้มีคนพัฒนาต่อยอดครับ

ข้อมูลจาก youtube.com/watch?v=bHp8kLlY6LE
ข้อมูลความคิดเห็นจาก FarmKaset.ORG

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา