พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร ระหว่าง 01 กรกฎาคม 2558 - 07 กรกฎาคม 2558


ภาคเหนือ

       ในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ระยะนี้ยังคงมีฝนน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชผัก เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลสัตว์น้ำจะอยู่กันอย่างแออัดทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ระยะนี้ยังคงมีฝนน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ และให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำเฉพาะบริเวณทรงพุ่ม หรือใช้วิธีน้ำหยด รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- นอกจากนี้เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มไวจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ช่วงที่อากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดหาน้ำให้สัตว์กินอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดให้สัตว์ในช่วงสภาพอากาศร้อน
ภาคกลาง
       ในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ระยะนี้ยังคงมีฝนน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ และให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำเฉพาะบริเวณทรงพุ่ม หรือใช้วิธีน้ำหยด รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
- ระยะนี้บางพื้นที่มีอากาศร้อน โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้สัตว์กินอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

       ในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก หากน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
- สำหรับไม้ผลที่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้ไปกำจัด ไม่ควรปล่อยให้อยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชเพื่อมิให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของศัตรูพืช
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. บริเวณอ่าวไทย คลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็ก ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

       นช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืชเป็นเวลานาน อาจทำให้ต้นพืชตายได้
- สำหรับสภาพอากาศมีความชื้นสูงชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง ในยางพารา เป็นต้น
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และ เรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

       ในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืชเป็นเวลานาน อาจทำให้ต้นพืชตายได้
- สำหรับสภาพอากาศมีความชื้นสูงชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง ในยางพารา เป็นต้น
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และ เรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา