บร็อคโคลี่ : สารพัดประโยชน์ ในบร็อคโคลี่ ผักดี ๆ ที่หาทานได้ไม่ยาก


สารพัดประโยชน์ ในบร็อคโคลี่ ผักดี ๆ ที่หาทานได้ไม่ยาก บร็อคโคลี่ ชื่อภาษาอังกฤษ Broccoli หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea var. italica จัดอยู่ในตระกูล Cruciferae ซึ่งมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทางตอนใต้ของยุโรป แถว ๆ ประเทศอิตาลี และภายหลังได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย โดยแหล่งที่ปลูกบร็อคโคลี่มากที่สุดในบ้านเราก็คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และกรุงเทพ
       
ต้นบร็อคโคลี่ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ลักษณะของดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นมีสีเขียวเข้ม ส่วนลักษณะของใบจะกว้างมีสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบหยัก ตามปกติแล้วเราจะนิยมบริโภคในส่วนที่เป็นดอกและในส่วนของลำต้นจะนิยมรองลงมา แต่คุณค่าทางอาหารกลับมีอยู่มากในส่วนของลำต้น ดังนั้นการรับประทานทั้งสองส่วน ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดนั่นเองจากการศึกษาวิจัยของมหาลัยอิลลินอยส์พบว่าการรับประทานบร็อคโคลี่ โดยเฉพาะหน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั่น เมื่อรับประทานร่วมกับ ต้นอ่อนของบร็อคโคลี่จะช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ! เนื่องจากในหน่อหรือต้นอ่อนบร็อคโคลี่นั้นมีเอนไซม์ไมโรซิเนส (Myrosinase) จะมีปริมาณมากกว่าต้นบร็อคโคลี่ที่โตแล้ว ซึ่งการรับประทานบร็อคโคลี่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่มีระยะเวลานานจนเกินไป เพราะจะไปทำลายเอนไซม์ไมโรซิเนสและซัลโฟราเฟนได้
       
บร็อคโคลี่เป็นผักที่รสชาติหวานกรอบ สามารถรับประทานสดได้ หรือจะนำมาประกอบอาหาร ก็ได้หลากหลายเมนู อีกทั้งบร็อคโคลี่ยังมีคุณค่าทางสารอาหารที่สูงด้วย เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เบต้าแคโรทีน วิตามิน C และสารอาหารอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงสารเคมีทางธรรมชาติที่มีชื่อว่า ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) และสารอินดอล (indole) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านมะเร็ง และการรับประทานบร็อคโคลี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1/2 ถ้วย ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก
       
การเลือกซื้อบร็อคโคลี่นั้น จะต้องซื้อที่มีดอกแน่น กระชับ มีสีเขียวเข้ม ก้านต้องแข็งแรงเหนียวนุ่ม ไม่ควรเลือกซื้อบร็อคโคลี่ที่มีดอกสีเหลือง มีใบเหี่ยวเฉา และมีก้านใบแข็งหรือหนาจนเกินไป
       
ประโยชน์ของบร็อคโคลี่
1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่น ทำให้ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา (ซีลีเนียม)
3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก
4. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน เรื่องจากบร็อคโคลี่เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยสามารถ
6. ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์และทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
7. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
8. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
9. ผักในตระกูลกะหล่ำ มีความสัมพันธ์กับการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ (Strokes)
10. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
11. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรงยิ่งขึ้น
12. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคปอดร้ายแรง จากงานวิจัยของ ดร.ชีแอม บิสวัล (วิทยาลัยแพทยศาสตร์จอห์นส ฮอฟกินส์ USA) พบว่าสารในบร็อคโคลี่อาจช่วยยับยั้งการทำลายที่นำไปสู่ไปการเป็นโรคปอดร้ายแรง หรือที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ (Chronic Obsructive Pulmonary Disease หรือ COPD) โดยโรค COPD มักมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ โดยสารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่จะช่วยส่งเสริมให้ยีน NRF2 ในเซลล์ปอดเกิดกิจกรรมเพิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันเซลล์ดังกล่าวไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษต่างๆในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ได้ และผู้ป่วย COPD ระยะก้าวหน้าจะมีการทำกิจกรรมกับยีน NRF2 ในระดับต่ำกว่ากลุ่มอื่น โดยยีนดังกล่าวจะทำหน้าที่เปิดให้กลไกหลายอย่างเพื่อขับพิษและสารก่อพิษต่างๆทำงาน เพื่อไม่ให้สารพิษทำลายเซลล์ปอด
13. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
14. สารซัลโฟราเฟนสามารถช่วยป้องกันการทำลายของหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวานได้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
15. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคิง คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่ามีเพียงผักผลไม้ 5 ชนิดเท่านั้นที่มีารประกอบที่ทำหน้าที่คล้ายยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งได้แก่ บร็อคโคลี่ ส้ม แอปเปิ้ล หัวไชเท้า และมันฝรั่ง โดยบร็อคโคลี่นั้นเป็นผักที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด
16. ช่วยป้องกันความผิดปกติของเด็กแรกเกิด
17. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันเนื่องจากบร็อคโคลี่มีวิตามินซีที่สูงมาก
18. บร็อคโคลี่มีส่วนช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลง เนื่องจากเป็นผักที่มีแมกนีเซียมสูง
19. สารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่ เป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบร็อคโคลี่ต้นอ่อนที่มีอายุเพียง 3 วัน
20. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
21. บร็อคโคลี่มีสารเคอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มความอึด แรงดี ออกกำลังได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหอบหืด ภูมิแพ้ มะเร็ง โรคหัวใจได้อีกด้วย
22. การรับประทานบร็อคโคลี่จะช่วยป้องกันและลดการลุกลามของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแนวโน้มการแข่งตัวอย่างรวดเร็ว (งานวิจัยของคุณหมอ Steven Schwartz มหาวิทยาลัย Ohio State University เมือง Columbus)
23. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขข้อ
24. บร็อกโคลี่มีโฟเลตสูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการพิการทางสมองของเด็กรารก
         
คุณค่าทางโภชนาการของบร็อกโคลี่ ต่อ 100 กรัม มีทั้ง พลังงาน 34 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 6.64 กรัม, น้ำตาล 1.7 กรัม, เส้นใย 2.6 กรัม, ไขมัน 0.37 กรัม, โปรตีน 2.82 กรัม, น้ำ 89.3 กรัม, วิตามินเอ 31 ไมโครกรัม 4%, เบต้าแคโรทีน 361 ไมโครกรัม 3%, ลูทีน และ ซีแซนทีน 1,403 ไมโครกรัม, วิตามินบี1 0.071 มิลลิกรัม 6%, วิตามินบี2 0.117 มิลลิกรัม 10%, วิตามินบี3 0.639 มิลลิกรัม 4%, วิตามินบี5 0.573 มิลลิกรัม 11%, วิตามินบี6 0.175 มิลลิกรัม 13%, วิตามินบี9 63 ไมโครกรัม 16%, วิตามินซี 89.2 มิลลิกรัม 107%, วิตามินอี 0.78 มิลลิกรัม 5%, วิตามินเค 101.6 ไมโครกรัม 97%, ธาตุแคลเซียม 47 มิลลิกรัม 5%, ธาตุเหล็ก 0.73 มิลลิกรัม 6%, ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%, ธาตุแมงกานีส 0.21 มิลลิกรัม 10%, ธาตุซีลีเนียม 2.5 ไมโครกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม 9%, ธาตุโพแทสเซียม 316 มิลลิกรัม 7%, ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม 4%

ข้อมูลจาก thaihealth.or.th

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา