ไทยต้องพร้อมรับมือเออีซีอย่างเป็นทางการ


การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือไปทำงานในต่างประเทศ และแรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาแทน อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา ขณะที่แรงงานภาคเกษตรก็มีแนวโน้มลดลง

การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธ.ค.2558 นี้ ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเกษตรนั้น จะเดินไปในทิศทางใด ได้เปรียบหรือมีผลกระทบอย่างไรบ้างนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการวิเคราะห์ทั้งด้านบวกและด้านลบไว้แล้ว

หลังจากเปิดเออีซีในปี 2559 จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน สินค้าและที่อยู่อาศัยอย่างเสรี โดยในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น ตั้งแต่ปี 2556 ประเทศไทยได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ซึ่งสูงกว่าประเทศในกลุ่ม ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ ส่งผลให้จะมีแรงงานจากประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาว เข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก จึงเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยที่มีฝีมือไปทำงานในต่างประเทศ และแรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาแทนเป็นจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา ขณะที่แรงงานภาคเกษตรก็มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนัก รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและปัจจัยแวดล้อม ดังนั้น ในอนาคตภาคการเกษตรจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น” นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าว

สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี จะมีสินค้าที่มีการยกเว้นภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ให้ต่ำกว่า 5% ซึ่งไทยมี 4 รายการคือ ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง มันฝรั่ง เมล็ดกาแฟดิบ (อยู่ที่ 5%) ไม่ต้องลดภาษี ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มี 1 รายการคือ ข้าว และประเทศอินโดนีเซีย มี2 รายการ คือ ข้าวและน้ำตาล โดยสินค้าในกลุ่มเออีซี และประเทศจีนจะทะลักเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ยกเว้นสินค้าในกลุ่มที่มีความอ่อนไหว ส่วนสินค้าเกษตรและอาหารที่ผลิตโดยบริษัทรายใหญ่ จะได้ประโยชน์จากการลดภาษี ทำให้ต้นทุนต่ำลง และสามารถขายสินค้าไปยังประเทศในกลุ่มเออีซี ได้ง่ายขึ้น รวมถึงเรื่องการผูกขาดจากกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ คุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารลดลง และมีสิ่งปนเปื้อนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือประเทศไทยจะต้องเน้นในเรื่องการสร้างคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นและยอมรับในสินค้าของประเทศไทย

และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาคการผลิตทางการเกษตรของไทย อันดับแรก คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของต้นทุนที่ดิน ค่าเช่า แรงงาน การตลาด การเงิน/ดอกเบี้ย ระบบขนส่ง/โลจิสติกส์ และการจัดการ รวมถึงปัญหาด้านภัยพิบัติ อุทกภัย ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเรื่องการย้ายฐานการผลิตไปประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตลอดจนกฎระเบียบทางการค้า นวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตที่เกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยทั้งสิ้น

ดังนั้น ภาคการเกษตรจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อภาคการผลิตทางการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเชื่อมโยงด้านการตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคการเกษตร รวมถึงสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบอาเซียน ซึ่งจะเป็นประเทศคู่ค้าและสามารถสนับสนุนให้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของไทย

ข้อมูลจาก
dailynews.co.th/agriculture/330375

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา