โสนอัฟริกัน พืชปุ๋ยสด แก้ดินเค็ม


คำถาม พื้นที่นาของผม สงสัยว่าเป็นดินเค็ม จะมีวิธีปรับปรุงดินอย่างไร จึงจะสามารถปลูกข้าวได้ดี ขอทราบวิธีการที่ชัดเจนด้วยครับ

วุฒิชัย สากลกาล อ.เมือง จ.มหาสารคาม

คำตอบ พืชปุ๋ยสด เป็นพืชที่ปลูกสำหรับสับกลบลงในดิน เพื่อปรับปรุงดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน สามารถให้ธาตุไนโตรเจนแก่พืชที่ปลูก โสนอัฟริกัน เหมาะสมที่จะใช้เป็นพืชปุ๋ยสดโดยเฉพาะในพื้นที่ดินเค็ม เพราะทนเค็ม มีน้ำหนักสด ประมาณ 2,000-4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทนแล้ง ทนน้ำขัง ให้ไนโตรเจนได้ปริมาณสูงเมื่อสับกลบลงไปในดิน เป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มอินทรียวัตถุ แก่ดิน และส่งผลให้พืชที่ปลูกตามมา โดยเฉพาะข้าวได้ผลผลิตสูงขึ้น

โสนอัฟริกัน เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง มีปมที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ทั้งที่ลำต้นและราก ปมจะเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ธาตุไนโตรเจน

นักวิชาการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน ได้แนะนำให้เกษตรกรในเขตน้ำฝนใช้โสนอัฟริกัน เป็นพืชปุ๋ยสด ปรับปรุงดินเค็มในการเพิ่มผลผลิตข้าว หากเกษตรกรผู้ใด สนใจติดต่อสอบถาม และขอเมล็ดพันธุ์ ได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดที่อยู่ใกล้บ้านท่าน

วิธีการปลูกโสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด ให้ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านในนาในช่วงเดือนพฤษภาคม หรือหว่านเมล็ดโสนในเดือนเมษายน เพื่อรอฝน ควรสับกลบเมื่อโสนอายุประมาณ 60 วัน แล้วปักดำข้าว โสนสามารถปลดปล่อยไนโตรเจน ให้แก่ต้นข้าวได้มากในช่วง 7-28 วัน หลังสับกลบ และการใช้โสนเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีทำให้ข้าวได้ผลผลิตมากยิ่งขึ้น

วิธีการหนึ่งในการรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตของพืชในพื้นที่ดินเค็มคือ การเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน แต่เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจนมีราคาแพง เกษตรกรที่มีฐานะยากจนไม่สามารถซื้อมาใช้ให้เพียงพอกับความต้องการของพืชได้ และมีปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ดังนั้น“ปุ๋ยพืชสด” จึงเป็นวัสดุปรับปรุงดินเค็มที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนแก่ดิน เพราะมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้อินทรียวัตถุชนิดอื่น และไม่มีผลตกค้างที่เป็นผลเสียต่อสภาพแวดล้อมด้วย

ข้อมูลจาก
- นาย รัตวิ
- naewna.com/local/162127

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา