คราม สมุนไพรโบราณ เคยใช้ยกมือขึ้น


ถ้าย้อนไปสมัยเด็กชั้นประถมตัวน้อยๆ คุณคงเห็นสีเสื้อนักเรียนของเพื่อนๆ บางคนออกเป็นทำไมออกโทนสีขาวอมฟ้าดูแปลกตา จึงเกิดคำถามขึ้นในหัวว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร คำตอบที่ได้รับกลับมาคือ ซักผ้าแล้วลงคราม งง…! ครับ แล้วเจ้าครามมันคืออะไร ?

คราม คือพืชสมุนไพรโบราณโดยมีหลักฐานทางโบราณว่า พืชชนิดนี้ปลูกกันมานานกว่า 6,000 ปีแล้ว ครามเป็นพืชขนาดเล็ก สูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบคล้ายก้างปลาขนาดเล็ก สามารถพบได้ตามป่าโปร่งทางภาคอีสานและภาคเหนือ

คนสมัยก่อนนิยมนำเอากิ่งและใบมาแช่น้ำ เพื่อหมักเอาน้ำของต้นครามมาย้อมผ้า การย้อมครามก็จะแตกต่างไปแต่ละภูมิภาค คนภาคอีสานจะเรียกผ้าย้อมครามว่า ผ้าหม้อนิล  เพราะหม้อที่ใช้ย้อมนั้นจะกลายเป็นสีดำ


ส่วนทางภาคเหนือก็จะคล้ายๆ กัน วัฒนธรรมไม่ต่างกันมาก แต่จะเรียกต้นทางว่า ต้นห้อม การย้อมผ้าแบบนี้ก็เลยเรียกว่า เสื้อหม้อห้อม ภายหลังเรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ที่โด่งดัง สมัยก่อนจะนิยมนำด้ายมายอมแล้วนำไปทอเพื่อตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าอาภรณ์ แต่ปัจจุบันนำผ้าฝ้ายที่ตัดเป็นเสื้อสำเร็จรูปแล้วนำมาย้อมทั้งตัว

  ปัจจุบันมีการวิจัยจากต่างประเทศ ทั้งในอเมริกาและญี่ปุ่นพบว่า ผ้าที่ย้อมด้วยครามสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตให้กับผู้ที่ส่วมใส่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงช่วยให้ผิวของผู้ส่วมใส่ไม่หมองคล้ำด้วยแสงแดด
   
ต้นครามไม่ใช่มีคุณประโยชน์เฉพาะย้อมผ้าเท่านั้น ยังมีคุณสมบัติรักษาโรคได้อีกหลายอย่าง โดยทางมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ทำการวิจัยประโยชน์จากต้นครามอีกครั้ง ในเรื่องของต้นครามกับสุขภาพ อาทิ แก้ปวด ลดการอักเสบ แก้พิษ จากแมลงสัตว์กัดต่อยต่างๆ เช่น นำเอาใบมาตำคั้นน้ำกินและเอากากมาพอกแผลได้
   
นี่คือสมุนไพรโบราณของดีประเทศไทย เสียดายที่ถูกฝรั่งตาน้ำข้าวนำไปจดสิทธิบัตรขึ้นทะเบียนเป็นของเค้าไปเสียแล้ว ซ้ำรอย ข้าวหอมมะลิ ที่ถูกสหรัฐชกฉวยโอกาสนำไปจดสิทธิบัตรขึ้นทะเบียนใช้ชื่อว่า จัสมาติ (Jasmati) เสียดายจริงๆ ที่ของดีบ้านเราถูกเค้าแย่งไปหมด อย่าชะล่าใจ อีกหน่อยจะไม่เหลืออะไรให้ลูกหลานไว้เชยชมกันนะครับประเทศไทย          

ข้อมูลจาก
yellowatwork.com
hunsa.com

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา