เห็ดตับเต่า : เทคนิคเพาะเห็ดตับเต่าด้วยวิธีง่าย ๆ


เห็ดตับเต่า เห็ดผึ้ง หรือเห็ดห้า เป็นเชื้อรากลุ่มเอ็คโตมัยโคไรซ่า เป็นเห็ดที่อาศัยอยู่กับรากพืช คือเห็ดจำพวกนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีพืชเป็นที่อาศัยครับ เส้นใยของเห็ดตับเต่าจะเจริญดีมากจากรากอ่อน จนถึงปลายราก แต่เราจะใส่เชื้อที่โคนรากของต้นไม้อาศัย ในช่วงแรกเชื้อเห็ดตับเต่าจะอาศัยอยู่ที่โคนราก แล้วค่อยๆ ลามไปจนทั่วปลายราก เห็ดตับเต่าจะออกดอกเห็ด ให้เราได้รับประทานเฉพาะในช่วงหน้าฝน (ยกเว้นเพาะนอกฤดู) และเห็ดประเภทนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีพืชอาศัย พืชอาศัยของเห็ดตับเต่าก็มี ลำไย ลิ้นจี่ หว้า มะกอกน้ำ แคบ้าน  กระถิน ส้มโอ  โสน  มะม่วง มะกอกบ้าน มะกอกน้ำ เป็นต้น ส่วนวิธีการเพาะเห็ดตับเต่า หลักๆก็มีด้วยกันเพียง 4 วิธีดังนี้ครับ

เทคนิคเพาะเห็ดตับเต่าด้วยวิธีง่าย ๆ
1. ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ คือรอให้สปอร์เห็ดพัดมากับ ลม น้ำ หรือสัตว์ที่กินเห็ดมาถ่ายใส่ไว้ให้
2. นำดอกเห็ดแก่ (ดอกเห็ดแก่จะมีสปอร์อยู่มาก) ไปปั่นละลายกับน้ำ ราดไว้ที่โคนต้นไม้อาศัย
3. นำหัวเชื้อขยาย (ก้อนเชื้อที่ทำไว้แล้ว) มาผสมกับน้ำราดไว้ที่โคนต้นไม้อาศัย..ผมสั่งซื้อจาก ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายครับ เขาส่งถึงบ้าน ก้อนละ 40 บาท (ไม่รวมค่าส่ง)
4. ขูดเอาผิวดินที่เคยมีเห็ดขึ้น ดินที่เห็ดเก่าปล่อยสปอร์ทิ้งไว้ เอาดินนี้มาใส่ตรงโคนต้นไม้อาศัยของเห็ดตับเต่า
หลักของการเพาะเห็ดตับเต่าก็มีเพียงเท่านี้ครับ ให้เพื่อนๆ เลือกทำตามวิธีใดวิธีหนึ่งข้างต้น แล้วแต่ความสะดวก เพียงเท่านี้ก็จะมีเห็ดตับเต่าไว้รับประทานไปชั่วลูกชั่วหลานเลยทีเดียว

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทรศัพท์ 053 – 170100

ข้อมูลจาก banhedd.blogspot.com

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา