ค่าแรงไทย สูงหรือต่ำ เมื่อเทียบกับอาเซียน


บรูไนเงินเดือน 55,000 สูงลิ่วนำเพื่อนบ้านอาเซียน พม่า 1,700 ต่ำสุด

สิ่งที่แรงงานทั่วโลกเรียกร้องมาโดยตลอด ก็คือค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาล และภาคธุรกิจ ก็มักไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง เพราะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

อย่างในประเทศไทยเอง การขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท ก็เคยถูกมองว่าเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการ และยังทำให้ไทยขาดศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เรามาดูกันว่าค่าแรง 300 บาทแพงเกินไปจริงหรือไม่ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ในอาเซียน มี 2 ประเทศที่ไม่มีกฎหมายระบุค่าแรงขั้นต่ำ คือบรูไนและสิงคโปร์ ตัวเลขที่เห็นเป็นการประเมินค่าแรงขั้นต่ำแบบคร่าวๆ ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานทั้งสองประเทศ สิงคโปร์มีค่าแรงขั้นต่ำสูงถึง 25,000 บาท แต่ก็ยังไม่เท่าบรูไน ที่ค่าแรงสูงถึงเดือนละ 55,000 บาทเป็นอย่างน้อย แต่ทั้งสองประเทศก็มีค่าครองชีพสูงมากเช่นเดียวกัน

ส่วนอีก 8 ประเทศในอาเซียน มีอัตราค่าแรงลดหลั่นกันไป มาเลเซียมีค่าแรงสูงสุดที่ 9,000 บาทต่อเดือน ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 8,000-9,000 บาทต่อเดือนแล้วแต่พื้นที่ หากฟิลิปปินส์ขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 400 บาท จากเดิม 300 บาทตามข้อเรียกร้องของแรงงาน ก็จะกลายเป็นประเทศที่ค่าแรงสูงรองจากบรูไนและสิงคโปร์ อยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน สำหรับไทย ค่าแรงพอๆ กับฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่ 9,000 บาท แต่ก่อนหน้านี้ ไทยเคยมีค่าแรงขั้นต่ำพอๆ กับอินโดนีเซีย คือ 5,100 บาทต่อเดือน ตอนนี้จึงเรียกได้ว่าอินโดนีเซียกลายเป็นอีกแหล่งลงทุนที่ต่างชาติสนใจ เพราะค่าแรงถูก และมีทรัพยากรมาก แถมรัฐบาลยังมีนโยบายเปิดกว้างต่อการลงทุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่

อีกประเทศที่มีศักยภาพแข่งขันสูงเพราะค่าแรงถูกก็คือเวียดนาม ค่าแรงขั้นต่ำเพียงเดือนละไม่ถึง 3,000 บาท แต่ก็ยังถือว่าสูง เมื่อเทียบกับลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ลาวเพิ่งจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรวดเดียว 2 เท่า เป็น 2,500 บาทต่อเดือน ทำให้ตอนนี้ค่าจ้างในลาวแพงกว่าในกัมพูชาซึ่งอยู่ที่ 2,100 บาทเท่านั้น ส่วนเมียนมาร์ ค่าแรงขั้นต่ำถูกที่สุดในอาเซียน คือวันละ 71 บาท หรือเดือนละ 1,700 บาทเท่านั้น

ข้อมูลจาก
Voice TV
prachachat.net

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา