ปลื้ม จันทุง เกษตรกรจีเอพีดีเด่นปี 58


จากที่กรมวิชาการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาแหล่งผลิตพืชผัก ผลไม้ เข้าสู่มาตรฐานปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือจีเอพี และทุกปีได้คัดเลือกเกษตรกรจีเอพีดีเด่นแห่งชาติเพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยปีนี้ “นายปลื้ม จันทุง” เจ้าของสวนมังคุดจีเอพี ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ประจำปี 2558

โดยเขาเริ่มทำสวนบนเนื้อที่ 14 ไร่ มาตั้งแต่ปี 2520 ปลูกทุเรียน แต่ประสบปัญหาโรครากเน่า-โคนเน่า จึงเปลี่ยนมาปลูกมังคุด 265 ต้น ลองกอง 120 ต้น และปลูกพืชแซมอีกหลายชนิด รวมทั้งผักเหนียง 2,500 ต้น ใช้หลักการเกื้อกูลกัน ปัจจุบันเน้นผลิตมังคุดและผักเหลียงคุณภาพป้อนตลาด ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ใช้สารสารกำจัดศัตรูพืช ผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เอง ผลผลิตจึงปลอดภัย 100%

สวนมังคุดจีเอพีแห่งนี้ มีการผลิตมังคุดในฤดูและนอกฤดู ในปี 2557 ที่ผ่านมา นายปลื้มมีกำไรจากการจำหน่ายมังคุดคุณภาพรวมกว่า 7 แสนบาท ขณะเดียวกันก็มีรายได้จากการจำหน่ายผักเหลียงอีก 7 แสนบาท

โดยที่นายปลื้มบอกว่า การนำแปลงปลูกพืชเข้าสู่มาตรฐานจีเอพีไม่ยากหากเกษตรกรสนใจและตั้งใจจริง ทั้งจัดการแปลงและบันทึกข้อมูลฟาร์ม ซึ่งการผลิตพืชจีเอพีสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้มาก ทำให้ต้นทุนลดต่ำลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังไม่เกิดปัญหาดินเสื่อม ที่สำคัญได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นที่ต้องการของตลาด และขายได้ราคาสูงขึ้นด้วย

จากผลประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้ “นายปลื้ม จันทุง” ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน ปี 2556 ของ จ.พัทลุง ทั้งเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องต้นแบบ (Smart Famer) ของ อ.ป่าพะยอม และได้รับรางวัลคนดีแทนคุณแผ่นดิน ปี 2556 จากเครือเนชั่น ล่าสุด ได้รับคัดเลือกเป็น เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ปี 2558

ข้อมูลจาก
- ธานี กุลแพทย์
- komchadluek.net

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา