พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 26 มิถุนายน 2558 - 02 กรกฎาคม 2558


ภาคเหนือ

       ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. ฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. – 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ และควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันสัตว์ศัตรูพืชต่างๆ เช่น ค้างคาว กระรอก และผีเสื้อมวนหวาน เป็นต้น ซึ่งจะกัดกิน และดูดน้ำหวานจากผลทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่น ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- เนื่องจากหลังจากฝนทิ้งช่วงผ่านไปแล้วปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง หลังคาไม่รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายในช่วงที่มีฝนตกชุก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.- 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินใบและยอดอ่อนของพืชทำให้พืชเสียหาย ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- เนื่องจากหลังจากช่วงฝนทิ้งช่วงผ่านไปแล้ว ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่เตรียมดินสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมดินให้มีการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- ระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากสัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัดจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

       ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. ฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. – 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงที่มีฝนตกน้อย
- เนื่องจากระยะหลังจากฝนทิ้งช่วงผ่านไปแล้วปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกพืชควรเตรียมระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนานทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
- ระยะนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

       มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส
- พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
- สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และขั้วผล แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นาน รวมทั้งเก็บกวาดผลที่เน่าเสีย ร่วงหล่น และเปลือกผลไม้ไปกำจัดไม่ควรปล่อยไว้ในสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. และ ช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็ก ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

       มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
- ส่วนทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงที่มีฝนตกน้อย
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. และ ช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และ เรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

       ในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.- 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนขอภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
- สำหรับบริเวณที่มีฝนตกติดต่อกันโดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง ในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. และ ช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และ เรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา