พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร ระหว่าง 19 มิถุนายน 2558 - 25 มิถุนายน 2558


ภาคเหนือ

       ในช่วงวันที่ 19-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกัน สัตว์ศัตรูพืช เช่น ค้างคาว กระรอก และผีเสื้อมวนหวาน ซึ่งจะกัดกินและดูดน้ำเลี้ยงจากผล ทำให้ผลเน่าเสีย ผลผลิตเสียหายได้
- ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย หรือฝนทิ้งช่วงในระยะต่อไป
- ระยะนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกิน ใบและยอดอ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ในช่วงวันที่ 19-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับ พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน เช่น ใบและยอดอ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

       มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบางพื้นที่มีอากาศร้อนและช่วงนี้ในบางวันอาจมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วย และสารคัดหลั่งจากสัตว์โดยตรง หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง
- สำหรับบริเวณที่มีฝนตก โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค ชาวสวนผลไม้ ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคตะวันออก

       มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่มอาจเกิดสภาวะน้ำท่วมได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
- ส่วนไม้ผลอยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้ไปกำจัด ไม่ควรปล่อยให้อยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-25 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

       มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
- สำหรับระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว <
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

       ในช่วงวันที่ 19-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 22-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
- สำหรับระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-25 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา