พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร ระหว่าง 17 มิถุนายน 2558 - 23 มิถุนายน 2558


ภาคเหนือ

       เหนือ ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ในระยะนี้ แม้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น แต่บางพื้นที่ยังมีฝนตกไม่สม่ำเสมอชาวนาที่เตรียมดินไว้ปลูกข้าวนาปี ควรชะลอการปลูกข้าวไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอค่อยลงมือปลูก หากปลูกในระยะนี้อาจจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำระยะต้นกล้าและแตกกอ
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อย่าให้อับชื้น เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ในสัตว์กีบคู่ เช่นโค กระบือ แพะ แกะ และสุกร
- สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในระยะที่มีฝนตกน้อย หรือฝนทิ้งช่วง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ในระยะนี้ แม้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น แต่บางพื้นที่ยังมีฝนตกไม่สม่ำเสมอชาวนาที่เตรียมดินไว้ปลูกข้าวนาปี ควรชะลอการปลูกข้าวไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอค่อยลงมือปลูก หากปลูกในระยะนี้อาจจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำระยะต้นกล้าและแตกกอ
- ส่วนเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้
- นอกจากนี้พื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง

ภาคกลาง

       มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ช่วงนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น แต่บางพื้นที่ยังมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ ชาวนาที่เตรียมดินไว้ปลูกข้าวนาปี ควรชะลอการปลูกข้าวไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอค่อยลงมือปลูก หากปลูกในระยะนี้อาจจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำระยะต้นกล้าและแตกกอ
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อย่าให้อับชื้น เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ในสัตว์กีบคู่ เช่น แพะ แกะ และสุกร
- ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง

ภาคตะวันออก

       มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 17-18 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 17-23 มิ.ย.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส
- ช่วงนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศ มีความชื้นสูง ซึ่งจะส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ปีกอาจเจ็บป่วยเป็นหวัดได้ เกษตรกรควรหมั่นดูแล หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบให้การรักษา
- สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง และทุเรียน เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึง รวมทั้งไม่ควรปล่อยผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไว้ในสวน เพื่อมิให้เป็นแหล่งสะสมของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราระบาดในปีต่อไป
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-22 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนที่มีฝนฟ้าคะนอง จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

       ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกิน ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อมิให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนและพักตัวของโรคและศัตรูพืชบางชนิด
- ส่วนชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราสีชมพู และโรครากขาว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

       ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณทะเล อันดามันตอนบนคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
- ช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย.จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย และที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ควรระวังอันตรายและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร นอกจากนี้ควรตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกิน ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อมิให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนและพักตัวของโรคและศัตรูพืชบางชนิด
- ส่วนชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราสีชมพู และโรครากขาว
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-23 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา