โคลอมเบียประกาศเลิกใช้สาร “กลัยโฟเซต” พ่นทำลายไร่โคคา หลัง WH0 ออกโรงเตือนเสี่ยงมะเร็ง


เอเจนซีส์ - โคลอมเบียประกาศเลิกใช้สารปราบวัชพืช “กลัยโฟเซต” ในการทำลายต้นโคคาในประเทศ ซึ่งเป็นพืชที่นำมาใช้ผลิตยาเสพติดโคเคน หลังจากองค์กรอนามัยโลก WHO ประกาศเตือนความเสี่ยงที่อาจทำให้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง
     
       บีบีซี สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้ (10) ว่า สารปราบวัชพืชกลัยโฟเซตนั้นได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ใช้ในโครงการกวาดล้างยาเสพติดในทวีปอเมริกาใต้เพื่อทำลายไร่โคคา ซึ่งสามารถนำมาสกัดเป็นยาเสพติดโคเคนได้สำเร็จ
     
       ทั้งนี้ ประธานาธิบดีฮวน มานูเอล ซานโตส (Juan Manuel Santos) ออกแถลงว่า โคลอมเบียจำเป็นต้องหาเครื่องมืออื่นมาทดแทนเพื่อทำลายการทำไร่โคคาต่อไป และแผนกปราบปรามยาเสพติดโคลอมเบียยังมีเวลาเตรียมหาวิธีการใหม่ที่ปลอดภัยมากขึ้นแค่ตุลาคมที่จะถึงนี้ เพื่อจะทำลายการทำไร่โคคาในประเทศ
     
       “ผมจะร้องขอเจ้าหน้าที่รัฐบาลโคลอมเบียในคณะปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติโคลอมเบีย ให้ประกาศห้ามการพ่นสารรปราบวัชพืชกลัยโฟเซตในการทำลายการทำไร่โคคาในที่ประชุมของคณะครั้งหน้า” ซานโตสแถลง
     
       และประธานาธิบดีโคลอมเบียแถลงเพิ่มเติมโดยอ้างอิงไปถึงการออกมาเตือนของ WHO ที่เกี่ยวโยงกับโรคมะเร็งว่า “ในการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขโคลอมเบีย รวมไปถึงได้ให้คำแนะนำ ได้ยืนยันว่าสารกลัยโฟเซตนั้นมีอันตรายถึงชีวิตจริง” และซานโตสยังย้ำว่า “แต่กระนั้นโคลอมเบียจะยังคงเข้มงวดต่อการต่อต้านยาเสพติดต่อไป”
     
       บีบีซีรายงานว่า โครงการกวาดล้างยาเสพติดอย่างขุดรากถอนโคนของโคลอมเบียเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่โคลอมเบียจะเพ่งเล็งไปยังพื้นที่ในเขตอิทธิพลของกบฏโคลอมเบีย “Farc” ที่รัฐบาลโคลอมเบียอ้างว่า กลุ่ม Farc ได้ใช้เม็ดเงินที่ได้จากการขายยาเสพติดโคเคนในการซื้ออาวุธสงครามเพื่อสู้กับรัฐบาลโคลอมเบีย
     
       นอกจากนี้ สื่ออังกฤษยังชี้ว่า ประเทศอื่นๆในแถบนี้ที่มีปัญหาการลักลอบการทำไร่โคคา รัฐบาลของชาตินั้นๆ ต่างใช้วิธีพ่นสารปราบวัชพืชกลัยโฟเซตในการทำลายด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงระบุว่า สารเคมีที่ถูกพ่นลงมานั้นได้ทำลายไร่กาแฟทั้งไร่ รวมไปถึงผลผลิตการเกษตรอื่นๆ

จาก manager.co.th

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา