ปลูกผักด้วยดินบนแคร่ ที่แคบที่น้อยก็ทำได้


สะดวกต่อการยืนทำงานดูแลพืชที่ปลูก เหมาะกับเกษตรกรที่สูงอายุ สำหรับกระบะที่ใช้ใส่ดินนั้น จะสร้างขอบขึ้นมาทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร

ที่ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีการเพาะปลูกพืชผักหลากหลายชนิด เพื่อการรวบรวมเมล็ดพันธ์ุ และขยายพันธ์ุสู่การปลูกของภาคการเกษตรของประเทศไทย ควบคู่กับการใช้วิธีการในการเพาะปลูกหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่แต่ละแห่งของประเทศ

อย่างเช่นการปลูกพืชผักในกระบะยกสูง ในพื้นที่ดินเลว หรือน้ำน้อย โดยจัดทำกระบะปลูกหรือแคร่สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 80-90 เซนติเมตร ด้วยเป็นระดับที่ สะดวกต่อการยืนทำงานดูแลพืชที่ปลูก เหมาะกับเกษตรกรที่สูงอายุ สำหรับกระบะที่ใช้ใส่ดินนั้น จะสร้างขอบขึ้นมาทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร เพราะระบบรากของผักจะมี 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ติดกับผิวดิน เป็นรากฝอยพืชใช้ดูดอาหาร ประมาณ 60-70% ลึกลงไปหน่อย เป็นส่วนที่ 2 รากดูดอาหารประมาณ 20-30% ส่วนที่ 3 ในพื้นดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร เป็นส่วนที่รากจะดูดอาหารน้อยมาก จึงไม่ต้องทำขอบสูงมากนัก



กระบะปลูกผักไม่จำเป็นต้องทำลึก จากนั้นใช้ไนลอนตาถี่หรือมุ้งตาถี่มารองก้นกระบะ เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ดี และทำให้ระบบรากชั้นล่างของพืชโปร่ง ระบายอากาศได้ด้วย สำหรับหน้ากระบะจะกว้างประมาณ 1.50 เมตร หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะจัดวางพื้นที่หนึ่ง ๆ จะใช้กี่กระบะก็ได้

ระหว่างกระบะปลูกเว้นช่องว่างเพื่อเป็น ทางเดินเพื่อเข้าไปดูแล หรือให้น้ำได้ตลอดแนวกระบะ นำเอาดินที่ผสมส่วนด้วย ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อนผสมกันควรตากแดดอย่างน้อยสัก 3 แดด เพื่อฆ่าเชื้อรา จากนั้นนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่ในกระบะ รดน้ำให้ชุ่มแล้วนำต้นกล้าผักที่เตรียมไว้ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม และควรปลูกช่วงเย็น เพื่อให้รากผักได้ฟื้นตัวและยึดดินในตอนกลางคืนซึ่งอากาศไม่ร้อน ผักระเหยน้ำน้อย

การปลูกผักด้วยกระบะดังที่กล่าวมานี้มีข้อดีหลายประการ อาทิ สามารถช่วยระบายน้ำ ระบายความร้อน ทั้งยังสามารถลดปัญหาเรื่องโรคแมลงศัตรูพืช และวัชพืชได้ดี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านสารเคมีกำจัดวัชพืช และแมลงศัตรูพืชได้ และช่วยให้เข้าไปดูแลผักได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น และผู้สูงอายุสามารถเพาะปลูกได้

สำหรับผักที่นำมาปลูกนั้นก็มีหลายชนิด อาทิ คะน้า คะน้าฮ่องกง ผักกาดขาว กวางตุ้งฮ่องเต้ กวางตุ้งดอก กวางตุ้งใบ ผักกาดเบกานา ผักกาดขาวปลี ผักโขมแดง ผักโขมเขียว บวบ มะระ ผักบุ้ง ผักหวาน ถั่วฝักยาว แตงกวา กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ และบร็อกโคลี เป็นต้น.“

อ่านต่อที่ : dailynews.co.th

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02228

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา