ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรแบบครบวงจร


ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรแบบครบวงจร การบริหารจัดการจะให้ความสำคัญกับระบบการส่งเสริมการเกษตร และกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นแบบการรับรู้และให้มีส่วนร่วมใน 3 มิติ

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือเกษตรกร เช่น การปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรแบบครบวงจร ทั้งข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปศุสัตว์ และประมง ให้มีประสิทธิภาพการผลิตและได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดมาอย่างต่อเนื่อง

ด้าน นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การบริหารจัดการจะให้ความสำคัญกับระบบการส่งเสริมการเกษตร และกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นแบบการรับรู้และให้มีส่วนร่วมใน 3 มิติ คือ

1. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ทั่วประเทศ และปรับระบบการส่งเสริมการเกษตร โดยใช้ข้อมูลในลักษณะแผนที่ทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ ให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วฉับไวผ่านการสื่อสารระยะไกล และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมรวมทั้งการให้บริการเกษตรกรอย่างเฉพาะเจาะจงในพื้นที่

2. ใช้กลไกการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมแบบ 2 ทาง คือการรับรู้ข้อมูลด้านนโยบาย แนวทาง มาตรการของรัฐบาลด้านการเกษตรรวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ให้กับเกษตรกร รวมทั้งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นโดยผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) โดยให้เชื่อมโยงกับศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอละ 1 จุด 882 ศูนย์ทั่วประเทศ

3. แก้ไขปัญหาโดยใช้การบริหารจัดการแบบบูรณาการภายในจังหวัด โดยอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และทำให้เกษตรกรก้าวสู่การเป็นเกษตรกรที่เรียกว่า เกษตรกรปราดเปรื่องเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหลังปี 2558 เป็นต้นไปให้ได้

ข้อมูลจาก : dailynews.co.th/agriculture/324539

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา