วิธีการปลูกชะอม และ เทคนิคการปลูกชะอมให้แตกยอดอ่อนได้ตลอดทั้งปี


ชะอมเป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วไป ยกเว้นที่เค็มจัดหรือเป็นกรดจัด
แต่ขณะที่ชะอมกำลังแตกยอดอ่อนก็ควรมีการเสริมปุ๋ยให้แก่ชะอมด้วยเช่นกัน และควรให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และควรให้ประมาณ 15 วันครั้ง ส่วนการให้น้ำควรให้ตามสภาพอากาศ หน้าฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำเลยยกเว้นฝนทิ้งช่วงหลายวัน ส่วนหน้าร้อน ต้องให้น้ำทุกวันมิเช่นนั้นชะอมจะให้ยอดน้อย ?ยอดน้อยที่สุดจะเป็นหน้าหนาว" แต่เรามีวิธีบังคับให้ชะอมแตกยอดในหน้าหนาวได้ด้วยการตัดแต่งกิ่ง หรือว่ารูดใบออกให้มาก จากนั้นจึงอัดปุ๋ยและน้ำยอดก็จะแตกออกมามากแต่ไม่เท่ากับการแตกยอดในฤดูฝน


วิธีการปลูกชะอม

ถ้าใช้กิ่งตอนจะนิยมยกร่องแล้วขุดหลุมปลูกบนร่อง ทั้งนี้เพราะป้องกันน้ำท่วมขังทำให้รากชะอมเน่าตายได้ โดยทั่วไปจะปลูกห่างกันต้นละประมาณ 30-50เซนติเมตร เป็นแถวเป็นแนวหรือปลูกเป็นแปลงระยะห่างของแถวประมาณ 1 เมตร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ จะนิยมปลูกแบบแถวคู่ ระยะห่างของแถว 1 เมตร แต่ถ้าปลูกริมรั้วบางครั้งก็ใช้แถวคู่ ระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร


การดูแลและการเก็บยอดชะอม

เมื่อปลูกชะอมได้ประมาณสัก 3 เดือน ให้รดน้ำวันเว้นวัน ต้นชะอมจะชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะเพราะจะทำให้รากเน่าตายได้ ชะอมก็จะเริ่มแตกยอดอ่อนมาให้เก็บไปขายหรือใช้บริโภคได้แล้ว
และเมื่อเก็บยอดชะอมไปขาย ชะอมก็จะแตกยอดใหม่มาเรื่อย ๆ ควรดูแลรักษาต้นชะอมโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลังจากปลูกชะอมได้ 2-3 เดือน จะทำให้ต้นชะอมแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี
การกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อกระตุ้นการแตกยอดใหม่ของชะอม แต่ควรใช้ในอัตราที่น้อยและต้องใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักด้วยจะทำให้ดินดีมีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นชะอมจะเจริญเติโตดีด้วยการกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม
อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากยอดอ่อนของพืชชนิดต่าง ๆ ปริมาณการใช้อัตราส่วนน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 40 ลิตร รดทุก 7 วัน ชะอมจะแตกยอดอ่อนได้ดีและช่วยให้ต้นแข็งแรงดีด้วย แต่ก็ควรใส่ปุ๋ยหมักในดินให้กับต้นชะอมด้วยจะดีมากจากการปลูกชะอมโดยวิธีธรรมชาตินี้เกษตรกรทำกันมานานแล้ว เป็นอย่างนี้สืบต่อเรื่อยมา

สำหรับวิธีการปลูกชะอม 1 ต้น ร้อยยอด
ต้นชะอมเป็นไม้เลื้อยจะแตกยอดตามกิ่งและเกษตรกรจะเก็บยอดอ่อนไปจำหน่ายหรือบริโภค ฉะนั้นการปลูกชะอมก็ไม่จำเป็นต้องปลูกหลายต้น แต่เราจะปลูกต้นชะอม 1 ต้น แล้วปล่อยให้ชะอมมันเลื้อยทอดยอดไปเรื่อย ๆ โดยเราก็จะจับลำต้นชะอม ให้ทอดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกฟางมัดไว้กับหลักที่ปักไว้เป็นแถวห่างกัน ระยะ 50 เซนติเมตรให้ต้นชะอมเลื้อย ขนานกับพื้นดินสูง 50 เซนติเมตร ยาวไปเรื่อย ๆ โดยปักหลักมัดกิ่งไม่ให้ล้มชะอมก็จะออกยอดตามลำต้นยาวไปเรื่อย ๆ เรียกว่าปลูกชะอม 1 ต้นแต่เก็บได้ร้อยยอด เป็นการประหยัดพื้นที่ปลูกชะอม และถ้าเราจะเปลี่ยนหลักไม้ไปปลูกผักหวานแทนข้าง ๆ หลักที่ปักไว้ ก็จะมีผักอีกชนิดหนึ่งไว้รับประทานได้อีกด้วย และนี่ก็คือการจัดการการปลูกผัก วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

การขยายพันธุ์ชะอม



ชะอมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ทำง่ายๆโดยการตัดแต่งกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ บั่นความยาวประมาณ 1 คืบแล้วปักชำลงในถุงดำเอาพลาสติกครอบไว้ประมาณ 7 วัน ก็ติดรากจากนั้นก็เลี้ยงต่อไปประมาณ 1 ? 2 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้?ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้อยากให้มีรายได้อะไรมากมายหรอกทำแบบสบายเป็นรายได้เสริม เพราะว่าขายของอยู่ที่ร้านอยู่แล้ว เช้าๆได้เดินมาเก็บผักมาดดูต้นไม้ที่เราปลูกเอาไว้ ได้ยอดก็มีความสุข ตอนเย็นก็ได้มาเดินดูบางวันก็ให้ปุ๋ย แล้วก็ได้เก็บยอดไปกินเองด้วย ?


ศัตรูพืชของชะอม

จะมีหนอนคืบ และมดแดงไฟ คุณบังอรบอกว่าได้ใช้สมุนไพรฉีดพ่นเป็นครั้งคราว ไม่ได้ฉีดประจำ แต่ใช้การสังเกตเอาถ้าเห็นมีหนอนก็ฉีดพ่นทันที ซึ่งป้องกันได้อย่างดีคุณบังอรยังบอกเทคนิคการกำจัดมดแดงไฟแบบภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยว่าเอาน้ำหน่อไม้ดองมาราดลงในรังรับรองว่าหายเกลี้ยงหายไปนาน

เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม

อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ชะอมแตกยอดได้ดีและได้เร็วคือจะใช้น้ำมะพร้าวอ่อน จำนวน 1 ? 2 ช้อนแกงผสมกับน้ำเปล่าจำนวน 20 ลิตรฉีดพ่น ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ช่วงปากใบเปิด จะทำให้ชะอมแตกยอดดีมาก

รายได้จากการปลูกชะอม : ปลูกชะอมเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน มีรายได้สม่ำเสมอ เกือบทุกวัน จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 200 – 300 บาท ในช่วงที่ราคาดี รายได้ก็อาจจะเพิ่มเป็น 2 – 3 เท่าตัว

จาก lugesan25042017.blogspot.com

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02178

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา