หญ้าใต้ใบ - สมุนไพรแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ตับอักเสบ แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ เตอักเสบบวมน้ำ


ชื่ออื่น ๆ : มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), หมากไข่หลัง (เลย), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), เตียงจูเช่า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus urinaria Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE

หญ้าใต้ใบ

ลักษณะทั่วไป :

เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-16 นิ้ว ลักษณะของลำต้นเรียบไม่มีขน ข้อ และกิ่งก้านเป็นสีแดง
ใบ ออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็น 2 แถว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบแหลมสั้น หรือมน โคนใบกลมมน หลังใบมีเป็นเขียว ส่วนใต้ท้องใบเป็นสีเขียวเทา ใบมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 2-5 มม. ยาวประมาณ 5-15 มม. ก้านใบสั้น
ดอก มีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกเพศผู้และเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก
ผล มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ผิวเปลือกนอกขรุขระ ผลอ่อนเป็น สีเขียว เมื่อแก่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ข้างในผลเป็นรูปสามเหลี่ยม สีน้ำตาล ผลออกเรียงเป็นแถวอยู่ใต้ก้านใบ
ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น


สรรพคุณ :

ลำต้น เป็นยาแก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ตับอักเสบ แก้ไข้ นิ่ว ขับปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ ไตอักเสบบวมน้ำ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต้อตาและเป็นโรคตาแดง หรือใช้ภายนอกในการตำพอก แผลที่บวมอักเสบ บริเวณริมปาก และศีรษะ

ข้อมูลจาก samunpri.com

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา