ประเมินการเพาะปลูกข้าว และพืชเศรษฐกิจด้วยดาวเทียม

มาดูเทคโนโลยีสุดทันสมัยที่มาช่วยในการเกษตรกัน ซึ่งเกษตรกรไทย มักจะเจอปัญหานี้เป็นประจำคือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งนี้ จึงมีความพยายามลดการปลูกข้าวนาปรัง เพราะข้าวนาปรังคือข้าวนอกฤดูการปลูกข้าว ต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำมาก หากเริ่มปลูกไปแล้ว เกิดความแห้งแล้งขึ้นมา ข้าวก็ไม่มีน้ำมาเลี้ยงอยู่ดี  จึงใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ติดตามปริมาณการปลูกข้าว รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ได้

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  ( GISTDA )  ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมมาช่วยติดตามปริมาณการปลูกข้าว รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ได้

หลักการทำงานการประเมินเพาะปลูกข้าว และพืชเศรษฐกิจด้วยดาวเทียม


ทั้งนี้ ทาง GISTDA ใช้ดาวเทียมถึง 2 ตัว คือ TERRA และ AQUA ถ่ายภาพลงมาที่โลกทุกๆวัน โดย TERRA จะถ่ายภาพในช่วงเช้า ส่วน AQUA จะถ่ายในช่วงบ่าย


ซึ่ง resoloution ภาพถ่ายที่ได้นั้นคือ 250×250 เมตร  โดย 1 พิกเซล เท่ากับ 40 ไร่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของระบบอยู่  แต่ภาพจะถ่ายซ้ำทุกๆวัน โดยภาพถ่ายที่ได้นี้จะถูกเรียกว่าข้อมูล  Modis  ซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ทุกๆ 16วัน เพราะหากถ่ายเป็นรายวัน จะได้ภาพที่เมฆบังพื้นที่อยู่ เมื่อนำภาพถ่ายทั้งหมดจากดาวเทียมนี้ มาซ้อนทับกัน แล้วจะได้ภาพจริงที่ไม่มีเมฆบัง  แล้ววิเคราะห์ด้วยการหาค่าดัชนีพืชพรรณ เพื่อหาช่วงเวลาที่เริ่มปลูกข้าวในแต่ละพื้นที่ ก็จะสามารถประเมินช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวในแต่ละพื้นที่ได้


และเมื่อทราบพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวแล้ว….ก็ประเมินหาจำนวนผลผลิตที่คาดว่าจะได้ โดยใช้ข้อมูลพยากรณ์ผลผลิตต่อไร่จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มาคูณกับพื้นที่ปลูกข้าวของแต่ละช่วงเวลาปลูก  เราก็จะทราบทั้งช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและผลผลิตที่จะได้ด้วย โดยข้อมูลนี้ ถูกนำขึ้นเวปไซต์ที่ rice.gistda.or.th/ricefield ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏนี้จะอัพเดตทุก 2 อาทิตย์ และมีข้อมูลย้อนหลังแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพื้นที่เพราะปลูกได้ด้วย ถ้าติดตามไปเรื่อยๆจะรู้ว่าพื้นที่ไหนปลูกใหม่ พื้นที่ไหนต้องเก็บเกี่ยวแล้ว และสามารถดาวน์โหลดรายงานได้ด้วย เป็นไฟล์ Microsoft Excel

ซึ่งเทคโนโลยีการติดตามปลูกข้าวนาปรังนี้เพื่อให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมชลประทาน  สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการต่อได้ รวมถึงภาคเอกชนก็สามารถนำข้อมูลนี้ ไปใช้วางแผนธุรกิจได้ด้วย เช่นดูว่าพื้นที่ไหน ปลูกพืชอะไรเยอะอยู่ในตอนนี้ จะได้หาพื้นที่ที่ควรนำปุ๋ยไปจำหน่าย เป็นต้น  นอกจากติดตามการปลูกข้าวได้แล้ว ยังสามารถติดตามผลผลิตอื่นๆเช่น ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลังได้อีกด้วย

จาก it24hrs.com

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา