เดินหน้าสางปัญหาปาล์มทั้งระบบ


กนป.กางแผน 3 ระยะรักษาเสถียรภาพราคา

นายคณิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เปิดเผยว่า กนป.ได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินมาตรการการรักษาเสถียรภาพราคาทั้งระบบ ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว โดยกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันในแต่ละมาตรการ ดังนี้

มาตรการเร่งด่วน ให้กรมการค้าภายใน กำหนดราคาแนะนำในการรับซื้อผลปาล์มทะลาย ผลปาล์มร่วงและน้ำมันปาล์มดิบ โดยให้รับซื้อผลปาล์มทะลายและผลปาล์มร่วงในราคาเดียวกัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 17% กก.ละ 4.20 บาท ณ หน้าโรงสกัดน้ำมันปาล์มและจุดรับซื้อหรือลานเท หากขายผลปาล์มที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงกว่า 17% ทุก 1% ที่เพิ่มขึ้นจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีก 0.30 บาท/กก. แต่ถ้าขายผลปาล์มที่เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำกว่า 17% ทุก 1% จะลดราคา 0.25 บาท/กก. ทั้งนี้จะผ่อนผันให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตที่มีน้ำมันไม่ต่ำกว่า 15% ในช่วง 3 เดือน เริ่มตั้งแต่พฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับตัว นอกจากนี้ กำหนดให้โรงกลั่น โรงผลิตไบโอดีเซลและผู้รับซื้อน้ำมันดิบทั่วไปรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 26.20 บาท เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันพืชปาล์มบรรจุขวดไม่สูงกว่าเพดานลิตรละ 42 บาท

สำหรับมาตรการระยะยาว ได้กำหนดเป็น 2 แนวทาง คือ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เกรด B พัฒนาศักยภาพการสกัดเพื่อให้สามารถสกัดปาล์มทะลายได้และแยกสกัดน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เร่งรัดดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะมีการพิจารณาอนุมัติร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว สำหรับการบริหารสต็อกน้ำมันปาล์มเพื่อป้องกันการขาดแคลนและดึงผลผลิตน้ำมันปาล์มส่วนเกินในบางช่วงเก็บไว้เพื่อลดการนำเข้า หากราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่า 4.20 บาทและน้ำมันปาล์มดิบต่ำกว่า 26.20 บาท ที่ประชุมได้เห็นชอบการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ CPO ปริมาณ 100,000 ตัน จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งองค์การคลังสินค้า จะเป็นผู้พิจารณาการเข้าไปรับซื้อในช่วงเวลาและจำนวนที่เหมาะสม

ข้อมูลจาก naewna.com

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา