อาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง


อาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ยุคนี้คนเป็นมะเร็งกันทั่วบ้านทั่วเมือง มาดูว่าเรา มีความเสี่ยงข้อไหนกันบ้างจะได้ระวังตัว

1. ผักดองและของหมักเกลือ
ทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกิน หรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

2. อาหารไขมันสูง
มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งไต, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งที่ทวารหนัก, และมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่มักเป็นไขมันที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อแดง, ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

3. แอลกอฮอล์
มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งช่องปาก และมะเร็งเต้านม มีงานวิจัยพบว่าแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านคาโรทีนอยด์ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ระดับวิตามินซีและซีลีเนียมในเลือดต่ำลง ดังนั้นแอลกอฮอล์จึงเป็นสาเหตุของมะเร็งเพราะไปลดตัวป้องกันมะเร็งของร่างกาย

4. อาหารปิ้งย่าง
มีสารพิษชื่อ PAH (polycyclic aromatic hydrocarbon) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ สารนี้เกิดจากไขมันในเนื้อสัตว์ที่หยดลงบนถ่านขณะปิ้งย่าง และเมื่ออากาศมีจำกัดทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดควันที่มีสาร PAH ลอยขึ้นมาเกาะที่ผิวอาหาร โดยสารนี้จะมีมากในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้งย่างนั้น สารกลุ่มนี้ถูกพิสูจน์ชัดว่าก่อให้เกิดมะเร็งได้ในสัตว์ทดลองและในคน

5. อะฟลาท็อกซิน
สารพิษที่เกิดจากเชื้อราและมีการปนเปื้อนในอาหารโดยเฉพาะในถั่วต่างๆ สารนี้ไม่ถูกทำลายแม้ผ่านความร้อน และเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่ง

6. พยาธิในอาหารสุกๆ ดิบๆ
พบมากในปลาน้ำจืดประเภทปลาเกล็ดขาว ปลาตะเพียน พยาธิชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อเรากินปลาที่มีพยาธิและปรุงไม่สุก พยาธิจะทำให้ท่อน้ำดีและขั้วตับเกิดการอักเสบ ส่งผลให้เป็นมะเร็งที่ท่อน้ำดีในตับได้ นอกจากนี้ยังมีพยาธิใบไม้ชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

7. สารอะคริลาไมด์
เป็นสารอันตรายร้ายแรงก่อมะเร็ง มักแฝงตัวอยู่ในอาหารที่ผ่านไฟแรงสูงเป็นเวลานาน อาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ อาหารฟาสต์ฟู้ดประเภท มันฝรั่งทอด เป็นต้น

8. สารเร่งเนื้อแดง
พบในพวกเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อหมู เนื้อวัว โดยสารเร่งเนื้อแดงเป็นสารเคมีในกลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ (beta-agonist) สารนี้จะเปลี่ยนแปลงชั้นของไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำให้มีชั้นไขมันลดลงและเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อหรือเนื้อแดง สารที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ซาลบูทามอล (salbutamol) และเคลนบู-ทารอล (clenbutarol)
สารเร่งเนื้อแรงเป็นสารก่อมะเร็ง และยังพบว่า เมื่อได้รับในปริมาณมากจะมีการขยายตัวของหลอดลม หลอดเลือด มีผลทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน และปวดศีรษะ จึงต้องระมัดระวังการใช้สารนี้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคลมชัก และเบาหวาน

9. สีย้อมผ้า
อาหารสีสดๆ อาจมีส่วนผสมของสีซึ่งไม่ใช่สีผสมอาหารแต่เป็นสีย้อมผ้า เพื่อให้อาหารมีสีสดน่ารับประทาน มักพบในอาหารประเภท กุ้งแห้ง ขนมลูกกวาดหลากสี สีย้อมผ้ามีผลเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ

10. ดินประสิวหรือเกลือไนไตรท์
ดินประสิวหรือเกลือไนไตรท์ ข้อมูลยืนยันแล้วมีสารก่อมะเร็งชนิดไนโตรซามีน โดยจะมีผลก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ตับได้ โดยสารดังกล่าวมักผสมในอาหารประเภทหมัก เช่น แหนม ไส้กรอก แฮม กุนเชียง

11. สารบอแรกซ์
มีคุณสมบัติให้สารประกอบเชิงซ้อนกับสารอินทรีย์ในอาหาร ทำให้อาหารมีลักษณะยืดหยุ่น กรอบ อร่อย และมีรสชาติยั่วยวน พบว่า มักมีนำมาใช้เป็นส่วนผสมอาหารประเภท เนื้อสัตว์บด ลูกชิ้น ไส้กรอก ขนมจากแป้ง (อาทิ ทับทิมกรอบ ลอดช่อง) ของหวานและผลไม้ดอง (อาทิ วุ้นกระทิ มะม่วงดอง) บอแรกซ์เป็นสารต้องห้าม และเป็นอันตรายกับผู้บริโภคมาก และยังก่อมะเร็ง

12. สารฟอกขาว
ซึ่งนิยมใช้กันมาก ในการฟอกเครื่องในวัว ที่เรียกว่า ผ้าขี้ริ้ว การฟอกถั่วงอกให้ดูขาวน่ากิน หรือใส่ในอาหารพวกลูกชิ้นต่างๆ สารฟอกขาวก็เป็นสารอันตรายก่อมะเร็งเช่นกันกับ Aon Indy

จาก darunnasiha.blogspot.com

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02231

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา