ชาวปากจั่นปลูกต้นทานตะวันสู้แล้ง


ในพื้นที่นา ม. 3 ต.ปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ชาวบ้านได้ปรับสภาพผืนนา ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง มาปลูกต้นทานตะวันที่เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อทดแทนการทำนาในช่วงหน้าแล้ง และได้ผลผลิตออกดอกสีเหลืองบานสะพรั่งเต็มทุ่งนาบนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีนักท่องเที่ยวมาถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่

นายสุเทพ บุญแจ้ง กำนันตำบลปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้เกษตรกรที่ทำนา งดการทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เพราะต้นทุนน้ำในเขื่อนมีปริมาณน้อยกว่าทุกปี ประกอบกับการทำนาที่ต้องใช้น้ำในการทำนามาก ตน และทาง อบต.ปากจั่น ได้ปรึกษากันเพื่อจะหาพืช ที่ไม่ต้องใช้น้ำมากมาทดแทนการทำนา เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร จึงได้แนวความคิด จาก อ.ไกรลาศ พรภิรมย์ จนท.อบต.ปากจั่น ว่าน่าจะปลูกต้นทานตะวัน เพราะว่าพืชชนิดนี้ไม่ต้องใช้น้ำมาก อีกทั้งมีตลาดรองรับผลผลิตอยู่แล้ว แล้วยังสามารถปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เมื่อดอกทานตะวันบาน ให้บรรดาคนที่ชอบถ่ายรูปคู่กับดอกไม้ที่สวยงามได้ จึงได้ร่วมกับทางอำเภอนครหลวงและเกษตรกรผู้ทำนา พร้อมใจกันปลูกต้นทานตะวันทดแทนการทำนาบนเนื้อที่กว่า 500 ไร่ แทน


นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ นายอำเภอนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า การที่เกษตรกรชาวนา ต.ปากจั่น แก้ปัญหาปลูกต้นทานตะวัน พืชที่ใช้น้ำน้อยและเป็นพืชเศรษฐกิจทนแล้ง เข้ามาทดแทนการปลูกข้าวนาปรังที่ใช้น้ำมากนั้น เริ่มเพาะปลูก เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2558 ที่ผ่านมา ใช้ระยะเวลากว่า 60 วัน เมล็ดทานตะวันที่หว่านไว้ ปรากฏว่าได้เจริญเติบโตงอกงาม แตกใบออกดอกบานสะพรั่ง เหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งนากว่า 500 ไร่ ที่เกษตรชาวนาพร้อมใจรวมกลุ่มกันเพราะปลูกขึ้นมาเป็นพืชทดแทนการทำนาปรังเป็นครั้งแรก

โดยได้กลายเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง เมื่อทราบข่าวว่าต้นทานตะวันออกดอกสวยงามบานสะพรั่งเป็นทุ่งทานตะวัน ทำให้ตลอดทั้งวันมีชาวบ้านแวะเวียนกันมาถ่ายรูปเก็บภาพอวดโฉมความสวยงามของทุ่งทานตะวันแห่งแรกของ จ.พระนครศรีอยุธยา

นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ นายอำเภอนครหลวง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในวันที่ 9 เม.ย.ที่จะถึงนี้ ทาง อ.นครหลวง เตรียมแถลงข่าวเปิดงาน “ทุ่งทานตะวันบานที่ปากจั่น” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งจะตรงกับเทศกาลวันสงกรานต์ สร้างรายได้ให้กับชาวนาก่อนในช่วงแรกก่อนจะเก็บผลผลิตส่งขาย

จาก naewna.com

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02171

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา