เห็ดเข็มทอง ยอดเห็ด มากด้วยคุณค่าทางอาหาร และยังมีสรรพคุณลดน้ำหนักเป็นอันดับ 1


ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมามอง “เห็ดเข็มทอง” ในแง่มุมใหม่ เพราะวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า แค่เพิ่มเห็ดเข็มทองในอาหารทุกวันก็จะได้อาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถเนรมิตหุ่นเราให้ผอมเพรียวและมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

ดร.เอะงุชิ ฟุมิโอะ ดุษฎีบัณฑิตด้านโภชนาการ และเจ้าของผลงานเขียนเรื่อง “เห็ดเข็มทอง” อธิบายให้ฟังว่า เห็ดเข็มทองมีสรรพคุณทางยามากมาย วิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า ในเห็ดเข็มทองมีเส้นใยอาหารมากกว่ากะหล่ำปลีราว 2 เท่า

ยิ่งกว่านั้น ส่วนประกอบของโครงสร้างเส้นใยอาหารก็มีลักษณะเฉพาะต่างจากเห็ดชนิดอื่น ส่วนประกอบดังกล่าวเป็นสารพอลิแซ็กคาไรด์ ที่เรียกว่าไคโทซานเห็ด (ไคโทกลูแคน) ซึ่งมีปริมาณมากที่สุดในบรรดาเห็ดทั้งหลาย ไคโทซานเห็ดจะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ลำไส้ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อย่อยสลายเส้นใยเหล่านี้ และเมื่อไคโทซานเห็ดละลายเข้าสู่กระแสเลือด จะช่วยดักจับไขมันส่วนเกินในเลือดที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วนแล้วขับออกมาพร้อมอุจจาระ แถมยังช่วยกำจัดไขมันอีกด้วย” ดร.เอะงุชิ กล่าว

มีงานวิจัยออกมามากมายว่า ถ้ารับประทานเห็ดเข็มทองที่อุดมไปด้วยส่วนประกอบดังกล่าว ไคโทซานเห็ดจะช่วยเพิ่มพลังในการขับถ่ายให้ดีขึ้น เมื่ออุจจาระถูกขับออกมาและสภาพในลำไส้ปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่าง ทั้งน้ำหนักลดลง เอวคอดขึ้น สิวฝ้าลดลง ผิวพรรณมีน้ำมีนวลขึ้น...ความเปลี่ยนแปลงที่แสนวิเศษนี้เป็นสิ่งที่คาดหวังได้จากเห็ดเข็มทองอย่างไม่ต้องสงสัย

ปัจจุบันที่เมืองนะกะโนะ ประเทศญี่ปุ่นกำลังนิยมกิน “น้ำแข็งเห็ด” ซึ่งคิดค้นโดยฮิโระฟุมิ อะโตะ นายกสมาพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งเมืองนะกะโนะ รสชาติของเห็ดเข็มทองเมื่อเป็นน้ำแข็งเห็ดจะยิ่งกลมกล่อมและเข้มข้นขึ้น เมื่อนำไปใส่อาหารจะทำให้มีเนื้อมีหนังมากขึ้น รสชาติก็อร่อยถ้าใส่ในซุปมิโซะกินกันทุกวัน ผ่านไป 3 เดือน เอวกางเกงจะหลวมขึ้นทันตาเห็นทีเดียว

น้ำแข็งเห็ด” นอกจากกินง่ายสบายท้องแล้ว ยังมีข้อดีที่ไม่ควรมองข้ามคือเส้นใยอาหารที่แข็งแรงของเห็ดเข็มทองจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น หากนำมาปรุงกินแบบธรรมดา ถ้าเคี้ยวให้ละเอียดก็ได้รับสารอาหารเหมือนกัน แต่ถ้าใช้วิธีใหม่คือทำเป็นน้ำแข็งเห็ด จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่มีสรรพคุณทางยามากกว่าปรุงแบบธรรมดา


ข้อมูลจาก Manager.co.th

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา