คิดเห็นกันอย่างไร? ธุรกิจประกันภัยนาข้าว



7 บริษัทเอกชน เตรียมเปิดรับประกันภัยนาข้าว ตั้งเป้าเกษตรกรเข้าโครงการ 1.5 ล้านไร่

นายอานนท์  วังวสุ  นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยความคืบหน้าโครงการประกันภัยข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 58สำหรับรายย่อยหรือไมโครอินชัวรันด์ว่า  ได้ข้อสรุปการรับประกันภัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมรับประกันภัยทั้งหมด 7 บริษัทคือ บริษัทกรุงเทพประกันภัย  จำกัด บริษัทเจ้าพระยาประกันภัย จำกัด บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด  บริษัททูนประกันภัย จำกัด บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัดและบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด  จากฤดูกาลผลิต 57 มีบริษัทรับประกันภัย 5บริษัท

สำหรับการรับประกันภัยจะแบ่งตามพื้นที่ความเสี่ยงภัยซึ่งหากเป็นจังหวัดในพื้นที่สีแดงถือว่ามีความสี่ยงสูงอัตราการรับประกันภัยรวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มจะอยู่ที่483.64 บาทต่อไร่  แต่เกษตรกรจ่ายเพียง 100บาทต่อไร่ที่เหลือรัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้เกษตรกร โดยมีทั้งหมด 17 จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ ปทุมธานี กำแพงเพชร ลพบุรี ชัยภูมินครราชสีมา ยโสธร บึงกาฬ  สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยาร้อยเอ็ด พิษณุโลก นครสวรรค์ สงขลา นครศรีธรรมราช สุโชทัยและอ่างทอง

ส่วนพื้นที่สีเหลืองคิดอัตราเบี้ยประกัน451.54 บาทต่อไร่  ซึ่งเกษตรกรต้องจ่าย 90 บาทต่อไร่ มี 14จังหวัด คือ ชัยนาท กาฬสินธุ์ พัทลุง นครปฐม อุบลราชธานี  ชลบุรี อุทัยธานี ตาก หนองคาย พิจิตร ขอนแก่น มหาสารคาม อุตรดิตถ์และสุพรรณบุรี  ส่วนพื้นที่สีเขียวเข้มคิดเบี้ยประกันที่355.24 บาทต่อไร่ เกษตรกรจ่าย 80 บาทต่อไร่มีทังหมด 14 จังหวัด คือ นนทบุรี น่านเพชรบูรณ์  หนองบัวลำภู  ปัตตานี อำนาจเจริญสุราษฏร์ธานี มุกดาหาร ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี สุรินทร์ สระบุรี และนครพนม

ขณะที่พื้นที่สีเขียวคิดเบี้ยประกันภัย 236.47 บาทต่อไร่ เกษตรกรจ่าย 70 บาทต่อไร่ มีทั้งหมด 13 จังหวัด เช่น แพร่ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี พะเยา อุดรานี แม่ฮ่องสอน นครนายกเลย สกลนคร สระแก้ว นราธิวาส  และพื้นที่สีเขียวอ่อนคิดเบี้ยประกันภัยที่124.12 บาทต่อไร่ เกษตรกรจ่าย 60 บาทต่อไร่ มีทั้งหมด 19 จังหวัด เช่น ภูเก็ตกระบี่ พังงา สมุทรสงคราม และระนอง อย่างไรก็ตามตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่จากปีก่อนที่มีเกษตรกรซื้อประกันภัยเพียง 800,000 ไร่

“ระยะเวลาการรับประกันภัยเริ่มตั้งแต่เดือนพ.ค.นี้จนถึงวันที่ 14 ส.ค.58ในพื้นที่ทุกภาค  ทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยกเว้นภาคใต้ที่การรับประกันภัยเริ่มพ.ค.แต่สิ้นสุดในวันที่ 11 ธ.ค.ส่วนความคุ้มครองนั้น หากเสียหายจากน้ำท่วม หรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุ หรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็งลูกเห็บและไฟไหม้ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจะจ่ายค่าสินไหมให้1,111 บาทต่อไร่ แต่ถ้าความเสียหายจากศัตรูพืชหรือโรคระบาดจะจ่ายค่าสินไหมให้ไม่เกิน 555 บาทต่อไร่”



นายประเวช  องอาจสิทธิกุล  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กล่าวว่า   หลังจากที่สมาคมฯและบริษัทประกันภัยตกลงอัตราการรับประกันภัยแล้วคปภ.เตรียมเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมครม. หากเห็นชอบสามารถดำเนินการได้ทันที


อ้างอิง dailynews.co.th

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02085

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา