ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ม.เกษตรเจ๋ง


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558 เวลา 5:00 น.

ดร.อนามัย ดำเนตร  คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รักษาราชการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และที่ปรึกษา “ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)–ศวท.” หรือ “ศจพภ.” เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง

ขณะนี้ได้ทำการอบรมครบทั้ง 3 รุ่น จำนวนผู้เข้ารับการอบรมรวม 65 ท่าน โดยผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้และวิธีการวิจัย เกี่ยวกับการกำจัดผักตบชวา วัชพืชน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยนำมาทำให้เกิดก๊าซชีวภาพ (Biogas) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนหรือชุมชนขนาดเล็ก พร้อมได้รับถังหมักต้นแบบนำไปใช้ในชุมชน ผลจากการอบรมทำให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์จากผู้เข้ารับการอบรมในชุมชนของตน เอง และการเกิดความร่วมมือกัน ในการจัดตั้งหน่วยเรียนรู้ ด้านการผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง ในชุมชนต่าง ๆ ในโอกาสต่อไป

“ศจพภ.” เป็นหน่วยงานที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กับคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดอบรม คณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย วิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรในการจัดอบรมทั้ง 3 รุ่น ได้แก่ รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ รศ.  จิตราภรณ์ ธวัชพันธุ์ คุณขวัญชัย นิ่มอนันต์ คุณสมบัติ กลิ่นบุปผา คุณกิตติเดช โพธิ์นิยม และคุณอานนท์ สุวรรณประเสริฐ

ซึ่งเป็นการอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2557 ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัยด้านพลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืน ผลจากการอบรมเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวาด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูงนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้นอกห้องวิจัยอย่างได้ผลจริงโดยหน่วยงาน หรือชุมชนต่าง ๆ

วิธี “ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง” มีขั้นตอนง่าย ๆ คือ นำจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง  ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกและทดสอบคุณสมบัติจากกระบวนการวิจัยแล้ว ว่าสามารถย่อยสลายผักตบชวาและเกิดเป็นก๊าซชีวภาพ ที่ติดไฟได้ มาผสมกับผักตบชวา และน้ำ ในสัดส่วน 1:1:1 ในภาชนะปิดมิดชิด โดยให้เหลือที่ว่างในภาชนะ 1 ส่วน ผสมให้เข้ากันอย่างทั่วถึง ทิ้งไว้ 10-15 วัน จะเกิดก๊าซที่สามารถใช้หุงต้มในครัวเรือนได้

สำหรับการเปิดอบรมในปีต่อไป จะเปิดการอบรมจำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 20 คนเช่นกัน  โดยจะเน้นการอบรมให้แก่หัวหน้าชุมชน/องค์กร ที่มีปัญหาผักตบชวาเป็นลำดับแรก  สมัครเข้ารับการอบรม โดยดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์  www.flas.ku.ac.th  ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณขวัญชัย นิ่มอนันต์ อีเมล mppf@ku.ac.th หรือ โทรศัพท์หมายเลข  09-5054-8240, 08-3559-8448  หรือ LINE ID : microku

จาก dailynews.co.th

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02131

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา