เลี้ยงปลาในนาข้าว - ปลาโต ข้าวเพิ่มผลผลิต ให้อาหารปลา ข้าวได้ปุ๋ย ปลาช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ดีจริงๆ



การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาโต ข้าวเพิ่มปริมาณ การให้อาหารปลา เป็นการให้ปุ๋ยต้นข้าวไปด้วย ปลาช่วยกำจัดวัชพืชกำจัดแมลง ถ้าข้าวในแปลงนาเก็บเกี่ยวตกหล่นก็ยังใช้เป็นอาหารปลาได้อีก ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลาได้ เกษตรกรควรสนใจ


ลักษณะอาชีพ เลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าว นับว่าเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งของเกษตรกรการปรับปรุงวิธีการเลี้ยงได้ถูกพัฒนาตามหลักสากลนิยม ให้มีคุณภาพ และปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคภายในครอบครัวทั้งยังเหลือจำหน่ายได้อีกด้วย

การเลี้ยงปลาในนาข้าว ไม่แตกต่างอะไรกับการเลี้ยงทารกแรกเกิด เช่นฝนฟ้าอากาศ อาหารการกิน โรคภัยไข้เจ็บตลอดจนศัตรูที่มาทำลาย ผู้เลี้ยงจึงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ปลานั้นเจริญเติบโตและมีปริมาณมาก ขณะเดียวกันความขยันอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีการศึกษาหาประสบการณ์เพิ่ม สุดท้ายคือการเฝ้าสังเกตความเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุเป้าหมาย

วิธีการดำเนินงาน เลี้ยงปลาในนาข้าว

1. ปรับปรุงบ่อ วางผัง เตรียมกล้าปักดำ
2. เลือกขนาดของลูกปลา โดยคำนึงจำนวนต่อไร่
3. เลือกประเภทของปลา เช่น ปลาไน ตะเพียน นิล ฯลฯ ที่กินวัชพืชเป็นอาหาร
4. เตรียมอาหารเสริม เช่น ปุ๋ยคอก ผัก ตามที่หาได้
5. หมั่นดูและระดับน้ำในนาให้พอเหมาะ
6. ระวังผลกระทบของอากาศ ของน้ำ เช่น ร้อนจัด น้ำเสีย เป็นต้น

รายได้จากขายปลาเฉลี่ยวันละประมาณ 50 - 120 กก.

วิธีการปล่อยปลาลงในนาข้าว

1. อนุบาลลูกปลาสักระยะหนึ่งแล้วจึงปล่อยเลี้ยงในนาข้าว
2. วางแผนผังการเลี้ยงปลาในนาข้าว
3. เลี้ยงปลาในนาข้าวในพื้นที่ 8 ไร่
4. มีร่องน้ำในนาแปลงนาข้าว
5. มีบ่อเลี้ยงปลา 2 บ่ออนุบาล ลูกปลา 2 บ่อ

อ้างอิง : xn--42c2decsp7boe6e6i.com

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02095

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา