ปลูกผักเมืองหนาวในภาคอีสาน รายได้ 2 แสนบาทต่อเดือน



ขอนแก่น 9 เม.ย.-มนตรี ทะนารี วัย 37 ปี เจ้าของสวนสลัดจันทร์ดาว กล้าคิดแตกต่าง ปลูกผักเมืองหนาวปลอดสารพิษ แม้สภาพอากาศเป็นอุปสรรคแต่ไม่ใช่ปัญหา ได้ผลผลิตดี มีรายได้เดือนละกว่า 2 แสนบาท

ผักสลัดเมืองหนาวมากกว่า20 ชนิด อาทิ กรีนคอส, เรดโอ้ค, กรีนโอ้ค, ฟินเลย์, บัตเตอร์เฮด ถูกนำมาปลูกลงดิน ด้วยแนวคิดแตกต่าง ถ้าปลูกพืชผักสวนครัวทั่วไป ตลาดมีมากแล้ว หากปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องใช้ทุนสูง มนตรี ทะนารี วัย 37 ปี เจ้าของสวนสลัดจันทร์ดาว บ้านท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จึงปลูกสลัดเมืองหนาวปลอดสารพิษลงผืนดินอีสาน พื้นที่กว่า 7 ไร่ แม้สภาพอากาศเป็นอุปสรรคแต่ไม่ใช่ปัญหา สมาชิกในครอบครัวช่วยกันปลูก ไม่มีการจ้างแรงงาน



การปลูกผักสลัดเมืองหนาว สำคัญที่การเพาะต้นกล้า เริ่มจากนำดินปลูกใส่ลงกระบะ โรยเมล็ดพันธุ์ลง ก่อนใช้หนังสือพิมพ์ปิดทับ รดน้ำทิ้งไว้ 3 วัน เป็นการเพาะเมล็ดให้งอก จากนั้นย้ายต้นกล้าลงถาดหลุมอนุบาลต่อในโรงเรือน 25 วัน ก่อนนำลงแปลงปลูก เนื่องจากช่วงนี้ฤดูร้อน ต้องใช้สแลนคลุม รดน้ำทุกเช้า เมื่อผักอายุ 45-50 วันก็เก็บขาย ราคาแพ็กใส่ถุงขายบนห้างสรรพสินค้า 150 กรัม 40 บาท ถ้าขายตามตลาดจะขายมัดละ 10-20 บาท

ที่นี่ยังปลูกผักอีกหลายชนิด อาทิ บล็อกโคลี ผักโขม มะเขือเทศเชอร์รี่ แต่ด้วยมีพืชที่จำกัด ผักบางชนิดต้องสลับพื้นที่ปลูก จึงมีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรรับซื้อพืชผักที่ปลูกตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทำแผนการปลูกที่ชัดเจน ไม่ให้ผลผลิตล้นตลาด



นันทวัน สินชัย คือหนึ่งในเกษตรกรเครือข่ายปลูกข้าวโพด มะนาว ส่งสวนสลัดจันทร์ดาว ที่มีการประกันราคา ปัจจุบันสวนสลัดจันทร์ดาวมีเกษตรกรร่วมเครือข่ายกว่า 20 ราย ซึ่งสวนแห่งนี้มีรายได้กว่า 200,000 บาทต่อเดือน.

ที่มา -สำนักข่าวไทย

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=2106

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา