โรงงานน้ำตาลครบุรี หนุนเกษตรกรปลูกอ้อยแทนข้าว ตั้งเป้า 12 ปี 6 ล้านไร่



โครงการปลูกอ้อยดีมีแต่ได้ตั้งเป้าขยายพื้นที่เปลี่ยนที่นาไม่เหมาะสมเป็นไร่อ้อย ส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มรายได้ ตอบรับยุทธศาสตร์ชาติหวังไทยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

เมื่อเร็วๆ นี้บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมพาสื่อมวลชนเยี่ยมชมไร่อ้อยในโครงการ“ปลูกอ้อยดี มีแต่ได้” ณ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

นายสุรศักดิ์ ปินะการัง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ โซน3 บมจ.น้ำตาลครบุรีกล่าวว่า เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับร่างแผนยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจของรัฐที่ตั้งเป้าหมายจะให้ประเทศไทยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ทางบริษัทจึงร่วมส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชมเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับจังหวัดด้วยการขยายพื้นที่ปลูกอ้อยแทนพื้นที่นาข้าวที่ไม่เหมาะสม โดยตั้งเป้าไว้ที่ 6 ล้านไร่ ในเวลา 12 ปี เนื่องจากขณะนี้อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาสูงสามารถสร้างกำไรและรายได้ให้เกษตรกรได้

สำหรับการคัดเลือกพื้นที่ในการขยายเป็นไร่อ้อยนั้น นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า จะต้องมีพื้นที่ 10 ไร่ขึ้นไปและเป็นพื้นดินร่วมปนทราย ที่สำคัญการปลูกอ้อยใน1 แปลง จะต้องปลูกพันธุ์เดียวกันเท่านั้น โดยบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไร่ละ 1,500 บาท นอกจากนี้เรายังจัดตั้งสถานีการเกษตรย่อยเพื่อให้นักวิชาการเข้ามาดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิดตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจนถึงกระบวนการเก็บเกี่ยวและนำอ้อยส่งเข้าโรงงาน การวิจัย พัฒนาทดลอง ตลอดจนเผยแพร่แนวคิดของชาวไร่อ้อยที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปทดลองเพิ่มผลผลิต

ด้านนางเรไร เลือดกระโทก เกษตรกรเจ้าของไร่อ้อยสุจิตรา กล่าวว่า เมื่อก่อนเคยปลูกมันสำปะหลัง แต่ประสบปัญหาน้ำท่วม ผลผลิตเน่าเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงเริ่มหันมาศึกษาการทำไร่อ้อย และเริ่มปลูกไร่อ้อยแทน โดยเริ่มจากพื้นที่ 20 ไร่ จนปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 140 ไร่ เป็นเวลากว่า 20 ปีทั้งนี้สิ่งสำคัญของการปลูกอ้อยคือการเตรียมดินที่จะต้องเน้นตีดินให้ละเอียด สำหรับการบำรุงดินก็ใช้ปุ๋ยขี้ไก่ กากหม้อกรอง ขี้เถ้า

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมีโครงการที่จัดขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร 1. โครงการปลูกอ้อยดีไม่มีจน โดยรณรงค์ให้เปลี่ยนพื้นที่นาดอนมาปลูกอ้อย หรือพื้นที่นาที่สามารถปลูกอ้อยแล้วไว้ตอได้นานขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพราะพื้นที่บางส่วนของอำเภอครบุรีเป็น พื้นที่นาดอน 2. โครงการปักธงชัย เป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกอ้อยในช่วงปลายฝน เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากดินมีความชื้นสูง ช่วยลดต้นทุนในการไถและเตรียมดิน 3.โครงการปลูกอ้อยยั่งยืน เป็นโครงการรื้ออ้อยตอที่ให้ผลผลิตต่ำ เพื่อตรวจสอบลักษณะดิน พัฒนาการวางระบบน้ำและคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับแปลงนั้นๆ เป็นการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

อ้างอิง isranews.org

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02098

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา