การปลูกพืชเหลื่อมฤดู

การปลูกพืชเหลื่อมฤดู (multiple cropping)



เป็นการปลูกพืชสองชนิดต่อเนื่องกันโดยคาบเกี่ยวกัน โดยยังไม่ได้เก็บเกี่ยวพืชแรก ทั้งนี้ เพื่อประหยัดพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ดินยังมีน้ำหรือความชื้นพอเพียง ทั้งนี้ แล้วแต่สถานที่ เช่น บนที่ดอนภาคเหนือ สามารถปลูกถั่วระหว่างแถวข้าว ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 1 เดือน ความชื้นในดินจะมีเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของถั่ว จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยถั่วไม่ทำความกระทบกระเทือนแก่ต้นข้าว สำหรับที่นาในภาคกลาง สามารถปลูกมันเทศ โดยการระบายน้ำออกก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 15 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวมันเทศแล้วซึ่งมีอายุประมาณ 14 0 วัน ยังสามารถปลูกถั่วเขียวต่อไปอีก ลักษณะการปลูกพืชเหลื่อมฤดู มักนิยมใช้กว้างขวางเฉพาะบริเวณที่ปลูกพืชไร่หรือพืชผักล้มลุก ส่วนบริเวณที่ปลูกไม้ยืนต้น เกษตรกรมักนิยมปลูกพืชแซมมากกว่าการปลูกพืชเหลื่อมฤดู เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งของการปลูกพืชให้ได้มากที่สุดและทันกับฤดูกาลซึ่งมีจำกัด รูปแบบของการปลูกพืชเหลี่ยมฤดู

ประโยชน์
1.การปลูกพืชเหลื่อมฤดูนั้นทำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
2.เพื่อเพิ่มรายได้ต่อพื้นที่มากขึ้น
3.พืชแรกจะเป็นพืชเลี้ยงให้กับพืชที่สอง เช่น ช่วยเป็นรมเงา เป็นค้างหรือเป็นวัสดุคลุมดิน
4.สามารถใช้พื้นที่ เวลา ความชื้น และปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดินให้เป็นประโยชน์ กับพืชที่ปลูกตามมา

หลักการนำไปใช้
1.พืชที่สองที่ปลูกตามมาควรเป็นพืชตระกูลถั่วอายุสั้น และทนร่มเงา
2.พืชแรกและพืชที่สองควรเป็นพืชต่างตระกลูเพื่อขจัดปัญหาโรคและแมลงสะสม
3.ใช้ได้ทุกสภาพพื้นที่

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา