แมลงที่สำคัญของผักกาดหัว

แมลงที่สำคัญของผักกาดหัว 



ก. เพลี้ยอ่อน ลักษณะลำตัวเล็กมาก ขนาดเล็กกว่า 2 มม. สีเขียวทึบ ทำลายผักกาดหัวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดหรือใบอ่อน ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายแคระแกรนผิดปกติ นอกจากนี้ยังเป็นพาหะของโรคที่เกิดจากเชื้อโวรัสหลายชนิด

การป้องกันสามารถทำได้โดยการปลูกพืชหมุนเวียนและทำลายวัชพืชในบริเวณแปลงปลูกผักกาดหัว และแปลงข้างเคียงเพื่อเป็นการทำลายพืชอาศัย

ข. หนอนใยผัก ลักษณะขนาดลำตัวเล็กประมาณเท่ากับ 1 ซม. สีเขียวอ่อน เท่าอ่อน หรือเขียวปนเหลือง มองเห็นค่อนข้างยาก หัว-ท้ายแหลม เมื่อถูกลำตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดิน โดยการสร้างใย ทำลายผักกาดหัวโดยการกัดกินผิวใบด้านล่างจนเป็นรูพรุน โดยเฉพาะใบส่วนยอดที่กำลังเจริญ ระบาดมากช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน

การป้องกันสามารถทำได้ทำลายต้นผักกาดหัวทันทีหลังการเก็บเกี่ยว และวัชพืชบริเวณข้างเคียงเพื่อมิให้เป็นที่ขยายพันธุ์ หรือใช้สารฆ่าแมลงประเภทจุลินทรีย์

ค. ด้วงหมัดผัก ที่พบมี 2 ชนิด คือชนิดลาย ซึ่งมีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาด 2 แถว ประมาณ 80% อีกชนิดหนึ่งคือชนิดสีน้ำเงินเข้ม ลำตัวมีขนาดเล็กสีขาวใส ถ้าโตเต็มที่จะยาวประมาณ 0.5 ซม. ตัวแก่เป็นแมลงปีกแข็ง เวลาถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดไปได้ไกลโดยอาศัยโคนขาหลังที่ใหญ่จะทำลายผัก กาดหัวโดยตัวแก่ชอบกัดกินใบจนพรุน ตัวอ่อนชอบกัดกินซากพืช ระบาดมากบริเวณที่ปลูกซ้ำที่เดิมโดยเฉพาะฤดูฝน

การป้องกันสามารถทำได้โดยการไถตากดินในฤดูแล้ง กำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงปลูกผักกาดหัว และปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยทำลายตัวอ่อน, ดักแด้ และตัดชีพจักร นอกจากนี้ยังสามารถใช้สารเคมีได้อีกด้วย

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา