ผักกาดหัวของไทยแต่โบราณ

ผักกาดหัวของไทยแต่โบราณ



ผักกกาดหัวของไทยแต่โบราณนั้นเป็นพืชผักที่มีอายุเพียงปีเดียวที่ปลูกกันไว้เพื่อบริโภคส่วนของรากที่ขยายตัว ใหญ่ขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า “หัวผักกาด” ผักกกาดหัวของไทยแต่โบราณนั้นอาจจะเป็นสีแดงหรือสีขาวก็ได้ คุณภาพของหัวผักกาดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ การปลูก การปฎิบัติดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ถ้าหากปล่อยให้อายุแก่หรือเลยระยะเวลาเก็บเกี่ยวแล้วรากจะขยายใหญ่มากยิ่ง ขึ้นเพื่อสะสมอาการสำหรับสร้างดอก และติดเมล็ด เนื้อจะเริ่มฟ่าม มีเส้นใยมากขึ้นผักกาดหัว มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น ผักขี้หูด ผักกาดจีน ไช้โป๊ว หรือไช้เท้า เป็นต้น สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ซึ่งมีความชื้นในดินสูงพอควร และได้รับแสงแดดตลอดวัน มีค่าพีเอชประมาณ 5.5-7.0 และอุณหภูมิประมาณ 18.5-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ผลดีที่สุด ในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม เป็นที่นิยมปลูกกันมากทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่นแถบจังหวัดราชบุรี เพชรบุรีและกาญจนบุรีผักกาดหัวนิยมปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารทั้งรับประทานสดหรือดองเค็ม (ไช้โป๊ว)

ผักกาดหัวจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงพอควร ในปริมาณของผักกาดหัว 100 กรัม
เราจะได้สารอาหารดังนี้

ผักกาดหัวจะให้สารอาหารที่เป็นโปรตีน 1 กรัม

ผักกาดหัวจะให้สารอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรท 3.6 กรัม

ผักกาดหัวจะให้สารอาหารที่เป็นไขมัน 0.1 กรัม

ผักกาดหัวจะให้สารอาหารที่เป็นวิตามิน เอ 10 ไอ.ยู

รวมพลังงานที่จะได้ทั้งหมด 17 แคลลอรี่ นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารอื่น ๆ รวมอยู่อีกมาก คุณสามารถทานผักกกาดหัวของไทยแต่โบราณนั้นได้อย่างไม่จำกัดปริมาณเพราะผักชิดนี้สามารถทำให้คุณอ้วนไดน้อยมาก


Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา