กาแฟ และ การปลูกกาแฟ


กาแฟ และ การปลูกกาแฟ


ขั้นตอนการปลูกกาแฟ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นที่ๆมีความสูง ประมาณ 800-12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันไม่เกิน 50% ทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มทำ ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝนที่จะมาถึง(ประมาณมิถุนายน-กรกฎาคม)
ทำแนวระดับโดยใช้อุปการณ์ช่วยเช่นไม้รูปตัวเอเขาควายหรือระดับน้ำ ทำแนวปลูกกาแฟโดยมีระยะระหว่างต้น 2 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความลาดชัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด 0.5x0.5x0.5เมตร(หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุมออกจากกัน หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด0.5x0.5x0.5เมตร(หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุมออกจากกัน หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
ขั้นตอนที่ 2 การปลูก
นำต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมความสูงประมาณ 45-50 ซม. มีใบ 6-8 คู่ สมบูรณ์แข็งแรง ผ่านการฝึกให้ ทนทานต่อแสงแดดจัดและการขาดน้ำในเบื้องต้น แล้วนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่น ใช้ไม้ปักกันลมโยกคลอน
กาแฟ การปลูกกาแฟ
กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ผลิตแล้วส่งออกต่างประเทศถึง 70 % เป็นพืชที่มีการแข่งขันกับต่างประเทศสูง ปลูกกันมากในพื้นที่ภาคใต้ ของประเทศไทย ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในการบริโภค
ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
• กาแฟไทยร้อยละ 99 เป็นพันธุ์โรบัสต้า ปลูกในภาคใต้ และร้อยละ 1 ปลูกในภาคเหนือ เป็นกาแฟอาราบิก้า แต่ตลาดโลกต้องการอาราบิก้าร้อยละ 90 และต้องการโรบัสต้าร้อยละ 10
• พื้นที่ปลูกกาแฟอาราบิก้าที่เหมาะสมมีจำกัด
• ต้นทุนการผลิตสูง
• คุณภาพของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ
• ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากเกินไป และขาดการปรับปรุงบำรุงดิน
• ขาดแคลนพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง
• ขาดเทคโนโลยีการแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
• มีความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 5.5-6.5
• อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-32 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตร/ปี
• มีช่วงแล้ง นาน 8-10 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดตาดอกการปลูก
การปลูก
• ระยะปลูกระหว่างต้น-แถว 3-4 x 3 เมตร อายุต้นกล้า 6-14 เดือน และควรมีการทำร่มเงาชั่วคราวหรือปลูกพืชให้ร่มเงาเช่น สะตอ แค กระถิน เป็นพืชร่วม
คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตราบัวทิพย์
• ปีที่ 1 และ 2 ให้ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 100 และ 150 กรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่อต้นฤดูฝน และกลางฤดูฝน
• ตั้งแต่ปีที่ 3 ให้ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 600 กรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 3 เดือน และ 6 เดือน หลังจากดอกบาน สำหรับต้นฤดูฝนควรให้ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
• หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง ให้ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 100 กรัมต่อต้นต่อปี
การให้น้ำ
• กาแฟปลูกใหม่ หากไม่มีฝนตกภายใน 1-2 สัปดาห์ ต้องให้น้ำ
หลังจากติดผล ถ้าฝนทิ้งช่วงนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรให้น้ำเดือนละ 1-2 ครั้ง จนผลกาแฟมีอายุ 3 เดือน ใช้ระบบการให้น้ำแบบฝอยละเอียด
การตัดแต่งกิ่ง
• ระยะก่อนให้ผลผลิต หลังจากปลูกกาแฟประมาณ 3-4 เดือน ตัดส่วนยอดของลำต้นให้เหลือลำต้นกาแฟสูงจากผิวดิน 30-40 เซนติเมตร
หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน เลือกกิ่งแขนงที่แข็งแรงไว้เพียง 3-5 กิ่งต่อต้น
• ระยะหลังให้ผลผลิต
- ตัดแต่งกิ่งแบบทยอย ต้นกาแฟที่มี 3-5 กิ่ง ให้ตัดกิ่งทิ้งออกที่ละ 1 กิ่ง เลี้ยงกิ่งที่แตกใหม่ทดแทน
- ตัดแต่งแบบให้เหลือไว้กิ่งเดียว มี 2 วิธี
1. ตัดลำต้นกาแฟทั้งหมดสูงจากพื้นดิน 40-50 ซม. ให้เหลือไว้เพียง กิ่งเดียว เพื่อเป็นกิ่งพี่เลี้ยง ต้นกาแฟจะแตกกิ่งใหม่ภายใน 2 เดือน เลือกกิ่งที่แข็งแรงไว้ 3-4 กิ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวผลบนกิ่งพี่เลี้ยงแล้ว จึงตัดกิ่งพี่เลี้ยงทิ้งไป
2. ตัดลำต้นกาแฟทั้งหมดสูงจากพื้นดิน 40-50 ซม. โดยไม่ต้องเหลือกิ่งพี่เลี้ยง ต้นกาแฟจะแตกลำต้นใหม่ภายใน 2 เดือน ให้เลือกลำต้นที่แข็งแรงเลี้ยงไว้ 3-5 กิ่ง
โรคที่สำคัญ
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ:เชื้อรา
ลักษณะอาการ: อาการเกิดตามส่วนต่างๆ ของต้นกาแฟ
ใบ เป็นจุดสีน้ำตาลแล้วขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อกลางแผลตาย มีสีน้ำตาลไหม้ จุดแผลแต่ละจุดขยายเชื่อมต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้
ผลเชื้อเข้าทำลายทั้งในผลอ่อนและผลแก่ เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาแต่ละจุดขยายรวมกันเป็นแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบ ผลกาแฟหยุดการเจริญและเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลยังคงติดอยู่บนกิ่ง
กิ่ง บนกิ่งสีเขียวมีอาการไหม้ เนื้อเยื่อของกิ่งบริเวณที่เป็นแผลจะตาย ทำให้กิ่งเหี่ยวแห้ง ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วง ตาดอกเหี่ยว
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง ต้นกาแฟอ่อนแอ
การป้องกันกำจัด :
• รักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสมโดยพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์
• คลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นในดิน
• ให้ปุ๋ยและให้น้ำตามคำแนะนำข้างต้น เพื่อให้มีลำต้นและทรงพุ่มแข็งแรง
• ตัดแต่งกิ่งตามคำแนะนำข้างต้น
• หลังการเก็บเกี่ยว ต้องเก็บผลกาแฟที่เป็นโรคเผาทำลายนอกแปลง
• ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชตามคำแนะนำ
- สารแมนโคแซบ อัตราการใช้ 48 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน
แมลงศัตรูกาแฟ
มอดเจาะผลกาแฟ
ลักษณะและการทำลาย :เป็นแมลงปีกแข็งสีดำขนาด 1 มิลลิเมตร วางไข่ ขยายพันธุ์และกัดกินอยู่ในผลกาแฟที่มีขนาดตั้งแต่ 0.5 ซม.ขึ้นไป จนกระทั่งผลกาแฟเริ่มสุกและสุกเป็นสีแดง มอดจะติดผลกาแฟไปถึงลาดตาก และอาศัยอยู่ในผลกาแฟสุก จนแห้งดำที่ติดค้างบนกิ่ง และผลที่หล่นใต้ต้น
ช่วงเวลาระบาด: เดือนกันยายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผลกาแฟ เริ่มสุกถึงสุก
การป้องกันกำจัด:
• เก็บผลกาแฟสุกหรือแห้งติดค้างบนกิ่ง หรือร่วงหล่นใต้ทรงพุ่ม นำไปเผาทำลายนอกแปลง
• ตัดแต่งกิ่งตามคำแนะนำข้างต้น
• หลีกเลี่ยงการตากผลกาแฟสุกบนพื้นดินบริเวณสวนกาแฟ และบริเวณใกล้เคียง
• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกาแฟโรบัสต้า ตามคำแนะนำ
- คลอร์ไพริฟอส (40% อีซี) อัตราการใช้ 35 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 15 วัน ตั้งแต่ผลกาแฟมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5
มิลลิเมตร จนถึงระยะผลกาแฟสุกหรือพ่นเมื่อพบการระบาด หยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
- ไดรอะไซฟอส(40% อีซี) อัตราการใช้ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นทุก 15 วัน ตั้งแต่ผลกาแฟมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5
มิลลิเมตร จนถึงระยะผลกาแฟสุกหรือพ่นเมื่อพบการระบาด หยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 28 วัน
หนอนกาแฟสีแดง
ลักษณะและการทำลาย: ตัวหนอนสีแดงหรือน้ำตาลแดง มีลายวงแหวนสีเหลือง มีขนสีขาวบนท้อง ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่บนกิ่ง และลำต้นใช้เวลาประมาณ 10 วันไข่จะฟักเป็นตัวหนอน หนอนโตเต็มที ่เมื่ออายุ 2-5 เดือน ช่วงนี้จะกัดเจาะเปลือกเป็นรูกลม เจริญเติบโต เป็นดักแด้ และตัวเต็มวัยสีขาวนวล มีจุดประสีดำอยู่เต็ม บริเวณปีกคู่หน้า ต้นและกิ่งกาแฟที่ถูกหนอนเจาะจะมียอดแห้ง กิ่งจะหักตรงบริเวณที่หนอนเจาะ หรือหักโค่นเมื่อมีลมแรง
ช่วงระบาด: ตลอดฤดูปลูก
การป้องกันกำจัด:
• ตรวจต้นและกิ่งกาแฟอย่างสม่ำเสมอ หากพบรอยที่หนอนเจาะทำลาย ให้ตัดกิ่งนำไปเผาทำลาย
• รักษาบริเวณสวนให้สะอาด
• หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยในสวนกาแฟ และบริเวณใกล้เคียง เช่น ชมพู่ ลิ้นจี่ ชบา เป็นต้น
• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกาแฟ ตามคำแนะนำ
- คลอร์ไพริฟอส(40% อีซี) อัตราการใช้ 35 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณกิ่งและลำต้นทุก 15 วัน หรือเมื่อพบการทำลาย หยุดการใช้สาร ก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
ชนิดวัชพืช
วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย หญ้ากุศล และหญ้าขจรจบดอกเล็ก
- ประเภทใบกว้าง เช่น ผักบุ้งยาง แมงลักป่า กระดุมขน ผักโขม สาบแร้งสาบกา และสร้อยนกเขา
- ประเภทกก เช่น หนวดแมว กกขนาก กกทราย และหนวดปลาดุก
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าเห็บ หญ้าขจรจบดอกเหลือง และหญ้าแพรก
- ประเภทใบกว้างเช่น สาบเสือ ผักปราบ มังเคร่ ขี้ไก่ย่าน และครอบจักรวาล
- ประเภทกก เช่น แห้วหมู และกกตุ้มหู
การป้องกันกำจัด:
• ไถตากดิน 1 ครั้งทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงพรวน 1 ครั้ง
• คราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว ไหล ของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลงก่อนจัดระยะ และทำหลุมปลูก
• คลุมโคนต้นด้วยเศษพืช ระวังอย่าให้มีความชื้นสูงในฤดูฝน
• ใช้เครื่องตัดวัชพืช ระหว่างแถวระหว่างต้นให้สั้น ก่อนวัชพืชออกดอก
กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มกาแฟ โดยใช้จอบดาย ระวังการกระทบกระเทือน รากกาแฟ
• พ่นสารกำจัดวัชพืชตามคำแนะนำ
- วัชพืชฤดูเดียว ใช้พาราควอท(27.6% เอสแอล) อัตรา 75-100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อวัชพืชมี 5-7 ใบ หรือก่อนวัชพืชออกดอก ระวังละอองสารสัมผัสใบและต้นกาแฟ ไม่พ่นเกินปีละ 2 ครั้ง
- วัชพืชข้ามปี ใช้กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม (15% เอสแอล)อัตรา 400-500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ไกลโฟเสท(48% เอสแอล)อัตรา 125-150 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
การเก็บเกี่ยว
• เก็บเกี่ยวผลกาแฟ อายุ 11 เดือนหลังออกดอก โดยทะยอยเก็บทุก ๆ 3 สัปดาห์ และเก็บผลกาแฟที่สุกพอดี ซึ่งจะมีผลสีส้ม หรือส้มแดง แล้วนำไปคัดเลือกทันที เพื่อตาก และจัดเก็บในห้องเก็บต่อไป
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
• การคัดเลือกผลกาแฟด้วยน้ำ ผลกาแฟที่จมน้ำ เป็นผลที่มีเมล็ดสมบูรณ์
นำผลกาแฟที่จมน้ำไปตาก ควรเกลี่ยผลกาแฟให้มีความหนา ประมาณ 4-5 ซม. และพลิกกลับผลกาแฟวันละ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาการตากจนผลแห้ง ประมาณ 15-20 วัน ตอนเย็นควรเก็บผลกาแฟมารวมกัน คลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันฝนหรือน้ำค้าง
• ผลกาแฟที่แห้งเมล็ดกาแฟควรมีความชื้นไม่เกิน 13 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ตรวจสอบโดยกำผลกาแฟแล้วเขย่าจะเกิดเสียงดังหรือเมล็ดแตก เมื่อใช้ค้อนทุบ
• ควรกะเทาะเปลือกทันทีหลังตากแห้ง
• เก็บรักษาในกระสอบป่าน สะอาด ใหม่ ปราศจากกลิ่น โรงเก็บ ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีความชื้นสัมพันธ์ไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์
การแปรรูปและผลิตภัณฑ์
• สามารถแปรรูปเป็นกาแฟคั่วบดด้วยอุปกรณ์ตามประเภทของการคั่ว เช่น คั่วแก่ คั่วไฟปานกลาง คั่วอ่อน และปรุงแต่งความน่าดื่มในภาชนะต่าง ๆ กันตามสูตรผสมของผู้ค้า เช่น เอสเปรสโซ บลูเมาท์เทน บราซิลซานโตส หรือจาวา เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กาแฟ มีรสชาติอร่อยตามความต้องการ คือ การคั่ว, การบด และการชง
• การคั่วกาแฟเป็นกระบวนการขึ้นกับเวลาและอุณหภูมิประมาณ 200-240 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการคั่ว 10-20 นาที
• สามารถแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) โดยใช้การผลิตในระบบพ่นแห้ง คือ การพ่นน้ำกาแฟไปในความร้อน น้ำจะระเหยไป ได้ผงกาแฟสำเร็จรูป และการผลิตในระบบเย็น (freeze dry) นำน้ำกาแฟเข้มข้นที่แช่เย็นจนเป็นเกร็ดแข็งไปผ่านความร้อน เพื่อระเหยน้ำอย่างรวดเร็วจะได้กาแฟผงสำเร็จรูป
• นอกจากนี้นำกาแฟไปบริโภคในรูปอื่นๆ เช่น เป็นส่วนผสม ของอาหารหวาน เช่น ไอศกรีม ขนมเค็กอื่นๆ หรือนำเอาสารกาแฟ ไปสกัดสารคาเฟอีน โดยนำเอาคาเฟอีนไปผสมในเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม และเครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆ
มาตรฐานของเมล็ดกาแฟโรบัสต้า
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการค้าเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าของประเทศไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย กรมการค้าภายในโดยความเห็นชอบของกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนด มาตรฐานเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าของประเทศไทย ดังนี้
1. เมล็ดกาแฟโรบัสต้าจะต้องมีสี กลิ่น ตามธรรมชาติของเมล็ดกาแฟ ไม่บูดเน่า หรือขึ้นราและไม่มีผลกาแฟปะปน
2. เมล็ดสารกาแฟจะต้องมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13
3. ข้อบกพร่องของเมล็ดกาแฟทั้งหมดจะต้องไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• เมล็ดกาแฟซื้อขายโดยทั่วไปไม่ควรจะมีเมล็ดกาแฟที่กะเทาะเปลือก ออกไม่หมด
• เมล็ดดำ คือเมล็ดกาแฟที่มีสีดำเกินครึ่งหนึ่งของเมล็ดจะมีได้ ไม่เกินร้อยละ 2
• เมล็ดมอด คือเมล็ดกาแฟที่มีรูมอดเจาะเกิน 1 รูจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 4
• เมล็ดแตก คือ ชิ้นส่วนเมล็ดกาแฟที่มีขนาดเท่ากับหรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของเมล็ดกาแฟทั้งหมดจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 2
• เมล็ดเสีย คือเมล็ดกาแฟที่มีลักษณะเป็นรูพรุน เมล็ดกาแฟหล่นโคนต้น • เมล็ดกาแฟที่ผิดปกติ และอื่น ๆ ซึ่งจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 0.5
• สิ่งเจือปน คือเศษหิน เศษไม้ เปลือกกาแฟ และทุกอย่างที่ไม่ใช่เมล็ดกาแฟ ซึ่งจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 0.5
สำหรับเมล็ดกาแฟที่ซื้อขายมิได้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว ให้หักน้ำหนัก ดังนี้
1. เมล็ดกาแฟที่มีความชื้นเกินร้อยละ 13 แต่ไม่เกินร้อยละ 14 ให้หักน้ำหนักความชื้นในส่วนที่เกินร้อยละ 13 โดยเทียบอัตราส่วน
2. ข้อบกพร่องทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ถ้าข้อบกพร่องบางข้อเกินกว่ากำหนดของแต่ละรายการ ให้หักน้ำหนักได้ ไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อร้อยละ 1 ของข้อบกพร่องที่เกิน
3. ข้อบกพร่องทั้งหมดรวมกันเกินร้อยละ 7 แต่ไม่ถึงร้อยละ 9 โดยน้ำหนักให้หักน้ำหนักได้ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อร้อยละ 1 ของข้อบกพร่องที่เกินกรณีที่ข้อบกพร่องทั้งหมดรวมกันเกินร้อยละ 9 หรือมีความชื้นร้อยละ 14 และหรือมีผลกาแฟหรือมีเมล็ดกาแฟติดเปลือก ปะปนอยู่ ถือว่าเป็นเมล็ดกาแฟที่ต่ำกว่ามาตรฐานให้เป็นการเจรจาตกลงกันเอง ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : กาแฟ , การปลูกกาแฟ

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา