การปลูกยางพารา : สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก ยางพารา


ยางพารา : การปลูกยางพารา



สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา
1.เขตปลูกยาง ยางพารามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบลาซิล ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ ยางพารามีการเจริญเติบโตได้ดี
2.ความสูงจากระดับน้ำทะเล สาเหตุที่ความสูงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของยางพารานั้นเนื่องมาจากระยะความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตร จะมีผลทำให้อุณหภูมิลดลง ซึ่งอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา
3.ความลาดเท ความลาดเทมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา เพราะถ้าพื้นที่มีความลาดเทมาก ผลผลิตของยางพาราหรือการเจริญเติบโตจะลดน้อยลง ดังนั้นการปลูกยางในพื้นที่ลาดเทนั้นควรปลูกโดยมีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยวิธีที่เหมาะสมคือ การปลูกแบบขันบันได ควรเลือกที่ทำสวนที่ใกล้ภูเขาและแนวลาดเทของภูเขามาทางสวน เวลาฝนตกน้ำจะชะเอาปุ๋ยอินทรีย์ที่อยู่หน้าดินมาทับถมเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
4.ดิน ยางพาราต้องการดินที่มีหน้าดินลึก เพื่อให้รากเกาะลึกได้อย่างมั่นคง หากหน้าดินตื้นทำให้รากยึดได้ไม่แน่น จะทำให้ต้นโค่นล้มได้ง่าย การโค่นล้มของต้นยางพาราขึ้นอยู่กับพันธุ์ยางด้วย
5.ฝนและการกระจายตัวของฝน ฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ปกติหลังจากปลูกควรได้รับน้ำฝนอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอประมาณ 4-6 เดือน
6.ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปลูกยางพารา การเปลี่ยนแปลงความชื้นมัมพัทธ์ขึ้นอยู่กับปริมาณและการกระจายตัวของน้ำฝน
7.อุณหภูมิ เพื่อผลผลิตสูงควรจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ระหว่าง 24-27 องศาเซลเซียส
8. ความเร็วลม ความเร็วลมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง คือ ความเร็วของลมเฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตร/วินาที ควรปลูกไม้กันลมก่อนปลูกยางพารา 2-3 ปี โดยปลูกไม้บังลมชนิดสูงสลับกับชนิดเตี้ยที่เจริญเติบโตใต้ไม้สูงได้ เพื่อช่วยป้องกันลมทั้งส่วนบนและส่วนล่าง
9.ระยะแสง ระยะแสงที่ยางพาราต้องการอยู่ระหว่าง 1,800-2,800 ชั่วโมง/ปี แต่ระยะเวลาการให้แสงต่อวันไม่มีผลกระทบต่อการปลูกยางพารามากนัก

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา